OKS Certificate Program 2024 หลักสูตรจัดการความรู้ สร้างพลังการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด

ร่วมขับเคลื่อนการบริหารจัดการความรู้และการเรียนรู้ในองค์กรอย่างสร้างสรรค์

         “We want to capture knowledge which has most value but which is also at risk that what’s we define critical knowledge.” – Vincent Ribiere, Managing Director and co-founder, IKI-SEA, Institute for Knowledge and Innovation South East Asia, a center of excellence at Bangkok University

Vincent Ribiere, Managing Director and co-founder, IKI-SEA, Institute for Knowledge and Innovation South East Asia, a center of excellence at Bangkok University

         “เราให้ความสำคัญกับการรวบรวมความรู้ที่มีคุณค่า ในขณะเดียวกันก็เป็นความรู้ที่มีความท้าทาย นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าความรู้ที่มีความสำคัญ หรือ Critical knowledge” – อาจารย์ Vincent Ribiere, Managing Director และ ผู้ร่วมก่อตั้ง สถาบัน IKI-SEA Institute for Knowledge and Innovation South East Asia ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มหลักสูตรบริหารจัดการความรู้ OKS Certificate Program

         การบริหารจัดการความรู้อย่างสร้างสรรค์ สร้างความยั่งยืนอย่างมีคุณค่าให้องค์กรและสังคม OKS Certificate Program 2024 หลักสูตรการบริหารจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่จัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ OKS Certificate Program จัดการเรียนระหว่างวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรม ibis Styles Bangkok Ratchada

         หลักสูตรบริหารจัดการความรู้สร้างสรรค์ระยะสั้นของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรียนรู้อย่างเข้มข้น 5 วันเต็ม Organizational Knowledge Sharing OKS Certificate Program Managing Knowledge for Organizational Effectiveness OKS2024 จัดโดย สถาบัน IKI-SEA Institute for Knowledge and Innovation South East Asia ร่วมกับ ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning Center Bangkok University

         โดยหลักสูตรมีผู้ดูแลหลักสูตรและเป็น Facilitator ตลอดการอบรม คืออาจารย์ Vincent Ribiere, Managing Director and co-founder, IKI-SEA, Bangkok University และอาจารย์ Bruno Laporte CEO | Leadership, Knowledge, Learning, LLC

Bruno Laporte CEO | Leadership, Knowledge, Learning, LLC

         OKS Certificate Program หลักสูตรที่ครอบคลุมเนื้อหาการบริหารจัดการความรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย พร้อมเทคนิคมากมายที่นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น พร้อมด้วย Speaker รับเชิญที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาร่วมรังสรรค์ห้องเรียนแห่งการบริหารจัดการความรู้ให้มีชีวิตชีวา

         เนื้อหาหลักสูตร เจาะลึกมุ่งเน้นศาสตร์การบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร 9 เรื่องสำคัญ ได้แก่ Leadership and Culture, Governance, Skills and Systems, Financing, Partnerships, Monitoring and Evaluation, Identifying and Capturing, Knowledge and learning products, Knowledge sharing and exchange, Knowledge-based Innovation

         ในปีนี้หลักสูตรบริหารจัดการความรู้เพิ่มเติมเนื้อหา กรณีศึกษาด้านการจัดการความรู้มากมายจากหลายประเทศทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้นยังมี Speaker รับเชิญ อาทิ หัวข้อ Storytelling in Knowledge Management โดย อาจารย์ Anjali Sharma Managing Director Narrative: The Business of Stories ทักษะที่ทำให้ความรู้ถ่ายทอดถึงทุกคนในองค์กรได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ คือทักษะการเล่าเรื่อง เมื่อรู้จักเล่าเรื่อง จะช่วยเพิ่มพลังให้การเรียนรู้

         ประกอบกับการออกแบบการเรียนรู้ให้หลากหลาย จับใจผู้เรียนรู้ ผู้ออกแบบการเรียนรู้พร้อมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนความรู้ในองค์กรก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นคือหัวข้อ Designing Effective Learning Offerings โดยอาจารย์ Arnauld De Nadaillac Managing Director ANC Consulting

Arnauld De Nadaillac Managing Director ANC Consulting

         เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ Learn how to Learn พัฒนาได้มากกว่า แนะนำ 5 วิธีการเรียนรู้สร้างสรรค์ขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Learning Methods เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ รู้จักเลือกใช้วิธีการเรียนรู้ในแต่ละช่วงจังหวะเวลาให้เหมาะสม จะขับเคลื่อนการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         วิธีการเรียนรู้มีหลากหลาย Learning Methods พื้นฐานสำคัญ มี 5 แบบ ได้แก่ Print & Mass Media-Based Learning, Group-Based Learning (Instructor-Lead), Work-Based Learning, One-on-One Based Learning และ Internet-Based Learning

         ผู้เรียนในหลักสูตรบริหารจัดการความรู้ครั้งนี้มาจากหลากหลายสายงาน ทุกคนมีมุมมองต่อเรื่องการจัดการความรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ

         คุณสายทิพย์ แสงสิงแก้ว CEO Bio-Plants Raw Material Company Limited กล่าวว่าการบริหารจัดการความรู้ เราควรต้องทำเป็นระบบ ที่จริงแล้ว ความรู้อยู่ที่ตัวคน แต่ว่าองค์กรไม่ควรไปพึ่งพาการมีอยู่ของบุคคล ความรู้ควรถูกจัดเก็บหรือบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ คนในองค์กรก็สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ ที่สำคัญคือการจัดวางระบบในองค์กรให้ทุกคนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ต้องวางแผนและบริหารจัดการตั้งแต่ต้น

คุณสายทิพย์ แสงสิงแก้ว CEO Bio-Plants Raw Material Company Limited

         สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างในการจัดการความรู้คือการวางแผนการเรียนรู้ให้กับคนในองค์กร อย่างการจัดอบรม (Training) ให้กับคนในองค์กรหรือคนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรมีความสำคัญ จากการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ได้เรียนรู้วิธีการสื่อสาร การแบ่งปันความรู้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก

         หลักสูตรนี้เหมาะกับทุกคน หรือผู้เป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้น เพราะเราต้องมี Knowledge อยู่ในมือตลอดเวลา โลกวันนี้หมุนเร็วมาก ความรู้ของเราเองก็มีค่าเหมือนกัน เราต้องวางแผนจัดการความรู้ ทำอย่างไรจะให้บริษัทของเรายั่งยืน ส่วนที่เป็นความรู้ของเราสามารถถ่ายทอดไปให้องค์กร ความรู้ขององค์กรด้วย ก็ต้องเรียนรู้ ไม่หยุดเรียนรู้ อัพเดทความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา

         คุณอนุสรณ์ ลัภนะก่อเกียรติ ประธานกรรมการบริหารสมาคมเทคโนโลยีดิจิทัล รองประธานบริหารสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การเรียนเรื่องบริหารจัดการความรู้ ได้เรียนรู้เทคนิค แนวคิดในการจัดการความรู้ที่น่าสนใจ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ดี กลไกเรื่องการบริหารจัดการความรู้ และนำไปใช้กับการบริหารจัดการบุคคลเป็นเรื่องคู่กัน การส่งต่อความรู้หรือ Transfer ความรู้จากคนกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ต้องมีการบริหารทรัพยากรบุคคลมาเกี่ยวข้อง การบริหารบุคคลต้องมีเทคนิคที่ทำให้เกิดกลไกการเรียนรู้และขับเคลื่อนความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะสร้างความยั่งยืนให้องค์กร

คุณอนุสรณ์ ลัภนะก่อเกียรติ ประธานกรรมการบริหารสมาคมเทคโนโลยีดิจิทัล รองประธานบริหารสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรุงเทพมหานคร

         ขณะที่ผู้เรียนต่างชาติก็ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการความรู้เช่นเดียวกัน Stela Sacaliuc, Knowledge Management Officer, UNAIDS, Thailand

         Stela เป็นหนึ่งในผู้เรียนที่เราได้พูดคุยด้วย เธอทำงานที่ประเทศไทยกับองค์กร UNAIDS (Joint United Nations Programme on HIV/Aids) หรือโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) บ้านเกิดของเธออยู่ที่สาธารณรัฐมอลโดวา (Republica Moldova) และเธอทำงานโดยตรงในเรื่องการจัดการความรู้ ในตำแหน่งKnowledge Management Officer ที่ขับเคลื่อนเรื่องการจัดการความรู้ในองค์กร เธอออกตัวกับเราว่า พึ่งเข้าทำงานได้ไม่นาน และกำลังศึกษาเรื่อง Knowledge Management การเข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ตอบโจทย์กับการทำงานของเธอเป็นอย่างมาก

Stela Sacaliuc, Knowledge Management Officer, UNAIDS, Thailand

         หัวข้อที่เธอคิดว่าน่าสนใจจากการเรียนในครั้งนี้คือ Storytelling in Knowledge Management เพราะการเล่าเรื่องช่วยให้เราทำความเข้าใจความรู้ได้มากยิ่งขึ้น ทำให้เราจดจำได้ โดยเฉพาะเรื่องยากหรือซับซ้อนที่ไม่มีใครจำได้ เมื่อใช้การเล่าเรื่องทำให้เรื่องนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และง่ายต่อการเรียนรู้ จดจำ ทำความเข้าใจ ส่วนอีกหัวข้อที่เธอสนใจคือการออกแบบการเรียนรู้

         การเข้าร่วมเรียนในหลักสูตรเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น ได้ความรู้ใหม่และเรียนรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้ ซึ่งสามารถนำไปใช้การพัฒนาองค์กรได้ ได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ เป็นโอกาสในการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ Guest speakers ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เธอบอกว่าอยากขอบคุณผู้จัดโครงการ และเพื่อนที่ร่วมเรียนรู้ด้วยกันในการพูดคุย ถกเถียง แชร์ความรู้ร่วมกัน สร้างความมั่นใจมากในการทำงาน ในการเรียนมีกรณีศึกษา มีแบบฝึกหัดให้ทดลองทำ ซึ่งช่วยสร้างความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ได้ทำงานเดี่ยว ทำงานเป็นทีม ได้ความเห็นหลากหลาย เป็นประสบการณ์การเรียนที่น่าสนุกมาก เธอยังบอกกับเราเพิ่มเติมว่าการจัดการความรู้ในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้องค์กรและบุคคลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         mengming YU, UNICEF, China เป็นผู้เรียนที่เดินทางไกลมาจากปักกิ่ง ประเทศจีน เธอทำงานกับ UNICEF (The United Nations Children’s Fund) China, ในบทบาท Social policy team knowledge management and advocacy officer เธอมีความตั้งใจในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ สิ่งที่เธอสนใจจากหลักสูตรนี้คือการได้เรียนทั้งแนวคิด ทฤษฎี และการได้ลองฝึกปฏิบัติกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เธอบอกว่า the enabling environment สำคัญในการเรียนรู้ คือสภาพแวดล้อมที่พร้อมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ เป็นพื้นที่ปลอดภัยและมีปัจจัยหลายด้านภายในองค์กรที่ทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์

mengming YU, UNICEF, China

         การเรียนในหลักสูตรนี้ยังมีกรณีศึกษามากมายที่น่าสนใจจากทั่วโลก เราสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่น เพื่อนำมาพัฒนาการทำงานของเราได้ หนึ่งในหัวข้อที่ทรงพลังจากการเรียนรู้ในหลักสูตรคือ Storytelling in Knowledge Management เพราะทักษะการเล่าเรื่องจะช่วยให้เราถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้อย่างมีพลังและน่าสนใจ รวมถึงการออกแบบวิธีการเรียนรู้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้

         การจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญมากในองค์กร โดยเฉพาะการระบุว่าความรู้สำคัญขององค์กรคืออะไร บันทึกและส่งต่อความรู้เหล่านั้น ก่อนที่ความรู้นั้นจะหายไป ในการทำงานของเธอ เกี่ยวข้องกับการติดตามนโยบายเชิงสังคมที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบกับเด็ก และจัดทำโครงการที่สร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม มีประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน ซึ่งการเรียนในหลักสูตรนี้นำไปใช้ประโยชน์กับการทำงานได้มาก

         เธอยังเน้นย้ำว่าโดยส่วนตัวแล้ว เชื่อในเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต เราทุกคนสามารถเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ หากสนใจเรื่องการเรียนรู้และความรู้แล้ว เราทุกคนก็เหมาะที่จะเรียนรู้ในหลักสูตรการอบรมนี้เช่นกัน

         อาจารย์ ดร.ศันสนีย์ เทพปัญญา MBI Director, The Institute for Knowledge & Innovation South-East Asia, Bangkok University อธิบายถึงหลักสูตร Organizational Knowledge Sharing มุ่งเน้นเรียนรู้ว่า ทำอย่างไรที่เราจะบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร ปัจจุบันเราเห็นว่าองค์กรมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้อยู่กับองค์กรมานาน พอถึงเวลาที่บุคคลนั้นเกษียณหรือออกไปจากองค์กรก่อน โดยที่เราไม่สามารถที่จะ Capture องค์ความรู้ของเขาไว้ได้ ทำให้เราต้องมาเริ่มต้นใหม่

         เพราะฉะนั้นคอร์สนี้จึงต้องการที่จะให้ทุกคนได้เรียนรู้ว่าทำอย่างไรเราถึงจะระบุองค์ความรู้ที่สำคัญ และเราจะ Capture องค์ความรู้ตรงนั้นอย่างไร จะบริหารจัดการอย่างไร จะแบ่งปันความรู้ในองค์กรอย่างไร การจัดการองค์ความรู้เป็นต้นกำเนิดของนวัตกรรม (Innovation) ที่เราสามารถเชื่อมโยงกับนวัตกรรมได้ เพราะเรามีองค์ความรู้ในหลากหลายมุมมอง ในองค์กรบางอย่างสามารถมาปะติดปะต่อกันได้และเกิดสิ่งใหม่ เกิดเป็นนวัตกรรม อาจจะเป็นเรื่องของโปรดักส์ เป็นเรื่องของกระบวนการ หรือเป็นการพัฒนาการทำงาน

อาจารย์ ดร.ศันสนีย์ เทพปัญญา MBI Director, The Institute for Knowledge & Innovation South-East Asia, Bangkok University

         อาจารย์ ดร.ศันสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าหัวข้อที่น่าสนใจอย่าง Storytelling in Knowledge Management การเล่าเรื่องต้องมีขั้นตอนอย่างไร จะทำให้อย่างไรให้ความรู้สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องเล่าได้อย่างน่าสนใจ วิทยากรก็บรรยายมาเล่าให้ฟัง โดยมีกรณีศึกษาของ NASA ที่ใช้การเล่าเรื่องในการบอกเล่าองค์ความรู้ ถ้าเรามีวิธีการจัดเก็บองค์ความรู้ แบ่งปันองค์ความรู้ให้คนในองค์กรเข้าไปค้นหาอย่างเป็นระบบได้ ก็จะทำให้เราสามารถพัฒนานวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ได้เร็วขึ้น

         ส่วนคนที่เหมาะกับคอร์สการจัดการความรู้คือต้องเริ่มจากระดับ Top ขององค์กรคือผู้บริหาร ผู้บริหารต้องเห็นคุณค่ากัน เรียกได้ว่าเป็น Enabling Environment หรือสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้และเป็นสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เกิด Knowledge Management อาจจะมีการกำหนดเป็นเป้าหมายไว้ว่าจะต้องทำเรื่องนี้ในองค์กร ถ้าผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมาเรียนได้ก็จะดี โดยเฉพาะคนในแวดวงการศึกษาก็เชื่อมโยงได้ อย่างที่เรียนก็จะมีเรื่อง Learning Design ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

         OKS Certificate Program เรียนรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของการจัดการความรู้ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริหาร คนทำงานรุ่นใหม่ และองค์กรในยุคดิจิทัล เนื้อหาหลักสูตรเข้มข้น กิจกรรมการเรียนรู้เน้นการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน

         โดยมีวิทยากรชั้นนำระดับโลก จาก World Bank, Dubai Government (UAE) มาแบ่งปันประสบการณ์และกรณีศึกษาที่นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน เรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษ ร่วมกับผู้เรียนต่างชาติ ต่อยอดกับการทำงาน และสามารถสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ

         OKS Certificate Program จัดการเรียนระหว่างวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรม ibis Styles Bangkok Ratchada สอบถามข้อมูลทาง Facebook Inbox และติดตามความเคลื่อนไหวของหลักสูตรได้ทาง Social Media คลิก OKS Certificate Program

Source & Photo Credit: OKS Certificate Program

Writer

BU CONNECT x Lifelong Learning Center Bangkok University สนุกกับการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด รอบรั้วมหาวิทยาลัยกรุงเทพ