เปิดมุมมองความคิด สองหนุ่มไอทีรุ่นใหม่ไฟแรง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ม.กรุงเทพ

ชวนคิด ชวนคุย เจาะลึกความชอบเรื่องไอทีนำไปสู่งานที่รักและเดินตามความฝัน

            ห้วงเวลาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ + เทคโนโลยี หรือ Creativity + Technology คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยังเป็นหนึ่งในคณะในฝันของน้อง ๆ รุ่นใหม่หลายคนที่มีความชอบในด้านเทคโนโลยี

            เราจะไปทำความรู้จักกับสองหนุ่ม พี่ตู้-คงอัคคณัฐ โชคธัญญาวัฒน์ และพี่พีเค-พลวัฒน์ คำแล ทั้งสองเป็นนักศึกษาที่มีผลงานด้านไอทีโดดเด่นตั้งแต่ยังเรียน

            เราขอแนะนำตัวหนุ่มไอทีทั้งสองคนให้รู้จักอย่างละเอียดอีกครั้ง พี่ต๋อง หรือ พี่พีเค-พลวัฒน์ คำแล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ Multimedia Intelligent Technology หรือ BU-MIT เป็นแล็บทางด้านเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พี่พีเคมีผลงานการแสดงผลเรดาร์

            ส่วน พี่ตู้-คงอัคคณัฐ โชคธัญญาวัฒน์ ทำงานอยู่ที่ BUMIT เช่นเดียวกัน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ มีผลงานระบบจำลองฝึกจำแนกอากาศยาน ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน

พี่ตู้-คงอัคคณัฐ โชคธัญญาวัฒน์ นักศึกษาสาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เทคโนโลยีทำให้เรามองเห็นอนาคต

            เด็กสายวิทย์แบบพี่พีเคที่เลือกเรียนสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เล่าให้เราฟังว่า โดยส่วนตัวแล้วตอนแรก ไม่ได้ชอบการเขียนโปรแกรม ไม่รู้ว่าการเขียนโปรแกรมคืออะไร พอได้ทดลองเรียนรู้สึกว่ามีความน่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องการใช้ความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อหาคำตอบ เมื่อหาคำตอบแล้ว ได้คำตอบที่เป็นการ Predict หรือ การเห็นล่วงหน้า ทำให้น่าตื่นเต้น

            ส่วนพี่ตู้ ที่เลือกเรียนสาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบเสริมว่า ผมเป็นคนที่ชอบเล่นเกมอยู่แล้ว แต่ว่าชอบวิทยาศาสตร์ด้วย ไม่ค่อยถนัดเป็นพวกวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ จะชอบแนวประยุกต์มากกว่าเช่น ที่ชอบเพิ่มเติมจะเป็นสายคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรม แล้วพอเจอสาขานี้ก็ได้ทั้งความชอบได้ทั้งความถนัด

พี่พีเค-พลวัฒน์ คำแล นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เรียนรู้การผลิตและใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ

            การได้ทำงานจริงไปด้วย ทำให้พี่พีเคมีมุมมองต่อการเรียนรู้สายไอทีที่น่าสนใจ การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ การนำเทคโนโลยีในส่วนต่าง ๆ มาใช้ให้เข้ากับความสนใจของแต่ละคน ซึ่งคณะของผมจะเป็นเทคโนโลยีอยู่แล้ว

            การนำเทคโนโลยีมาใช้ในสาขาของคอมพิวเตอร์คือการคิดคำนวณหรือการสร้างโปรแกรม เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีอื่น จึงอาจจะต้องแก้ไขด้วยการคำนวณทางวิทยาศาสตร์หรือการคำนวณทางฟิสิกส์อะไรบางอย่าง เพื่อให้ได้คำตอบสำหรับตัวเขาเอง รวมไปถึงการใช้อำนวยความสะดวกของเขาเองด้วย

            ขณะที่พี่ตู้อธิบายสาขาของตนเองว่า สาขาเกมค่อนข้างที่จะแตกต่างกับอีกสองสาขา เพราะว่าเกมจะเรียนตั้งแต่ developing จนถึง marketing วิชาเรียนค่อนข้างที่จะหลากหลายกว่า แต่ว่าความเข้มข้นของการเรียนโค้ด เรียนเลข เรียน Math Algorithm จะไม่หนักเท่า เกมจะมี game design 2D 3D และ modeling animation เพิ่มเข้ามาด้วย

ความชอบในด้านวิทยาศาสตร์

            ฟังถึงเรื่องคณะและสาขาไปบ้างแล้ว ทีนี้เรามาทำความรู้จักความชองของพี่ ๆ ในวัยเด็กกัน พี่เคเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ย้อนทบทวนให้ฟัง สำหรับผมคือการเรียนบางอย่าง บางวิชาหรือบางครั้งการคำนวณยากเกินไป จนที่เราอาจจะทิ้งไปเลยก็ได้ แต่เรามองกลับกันว่า เรามาทำงานในสาขาคอมพิวเตอร์ เราทิ้งวิทยาศาสตร์ได้ไหม ? เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าวิทยาศาสตร์ต้องการความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งหาคำตอบออกมา แต่โดยส่วนตัวแล้วก็ชอบ ถึงมาเรียนในสาขานี้ และพี่ตู้ที่เรียนสาขาเกม เล่าเพิ่มว่า ผมชอบตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ว่าจะเน้นไปทางแล็บ ปฏิบัติมากกว่า จะไม่ค่อยสันทัดทฤษฎี

โปรเจคเรดาร์ และการ Develop เกม

            ก่อนจะมีผลงานออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน เราทุกคนก็ล้วนมีแรงบันดาลใจ การทำโปรเจคเรดาร์ของพี่พีเคมีแรงบันดาลใจ คือการใช้ประโยชน์ โปรเจคที่ผมทำจะเป็นเกี่ยวกับพวกการคำนวณเรดาร์ ทำเป็นแอปพลิเคชันใหม่ วัตถุประสงค์หรือผลประโยชน์ของการใช้โปรแกรมตัวนี้ค่อนข้างน่าสนใจ แล้วการทำแอปพลิเคชันตัวนี้สามารถช่วยการแสดงผลของตัวมอนิเตอร์ของตัวเครื่องบินต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบจากของเดิมที่ผ่าน

            ขณะที่พี่ตู้ที่สนใจในโลกของเกม ตัวที่ผมทำจะเป็นซีเรียสเกมคือเกมที่ค่อนข้างที่จะสมจริงในระดับหนึ่งแล้ว เป็นเกมที่เอาไปประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งตัวเกมจะเป็นเกมจำลองสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ทหารอยู่ เวลาที่เครื่องบินมา เรามีเทคโนโลยีที่เป็นเรดาร์ มีเครื่องตรวจจับ เครื่องยิง

            แต่ว่าในสถานการณ์จริงบางทีเราไม่สามารถขนอุปกรณ์อะไรเข้าไปได้ เรามีที่พึ่งสุดท้ายคือตัวเราเอง เราจะฝึกทหารให้สามารถแยกแยะประเภท รุ่นของเครื่องบินได้ เกิดเป็นเกมคือเกมจำลองการสังเกตเครื่องบิน

ประโยชน์ของการพัฒนาตัวโปรเจค

            ด้วยความที่ศึกษาเรื่องเรดาร์ พี่พีเคจึงบอกว่า โปรเจคที่ทำแน่นอนว่าเป็นการแสดงผลของตัวเรดาร์ใหม่ทั้งหมด คือต้องทำระบบตั้งแต่รากถึงโคน จึงจะเป็นประโยชน์ต่อไป คือว่าอาจจะเป็นการนำร่องหรือการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ เพราะเทคโนโลยีเรดาร์บ้านเรายังซื้อจากต่างประเทศ ต้องมาจ่ายทีละหลายล้าน หรือการปรับปรุงหลายล้าน อนาคตเราอาจจะทำเอง เพื่อประหยัดต้นทุนอันนี้ก็ได้เหมือนกัน ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีอาจจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาใหม่ มาทำการพัฒนาและวิจัยขึ้นมา อาจจะทำเป็นศูนย์วิจัยของประเทศไทย

            เกมมีประโยชน์ได้เหมือนกัน พี่ตู้นักค้นคว้าอธิบายว่า เป็นการพัฒนาแนวทางเดียวกันคือ research and development เพื่อเอาไปต่อยอด ถ้าถามถึงประโยชน์คือ ตัวอย่างเช่น ทหารฝึกเป็น routine หรือกิจวัตรประจำวันอยู่แล้วใช่ไหม เราจะทำยังไงให้เขาสามารถ enjoy แล้วก็อยากที่จะทำการฝึกแบบเดิมเรื่อย ๆ เราเอาจากที่เป็น simulator หรือการจำลองการฝึกอยู่แล้ว เรานำมาทำเป็นเกมด้วย จะได้ทั้งฝึก ทั้งทหารก็ enjoy ที่จริงอย่าง simulator ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ จะมีเครื่องบิน เวลาเขาฝึกนักบิน ทั้งนักบินพาณิชย์ หรือว่าเป็นนักบินของกองทัพ จะมีอยู่แล้ว ซึ่งเครื่องพวกนี้ค่อนข้างที่จะมีราคาสูง แล้วมีต้นทุนที่สูง ถ้าเราสั่งซื้อจากต่างประเทศจะไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของเราเอง ถ้าเราทำเองหรือต่อยอดก็จะเป็นประโยชน์

โปรเจคในอนาคต

            พี่พีเคบอกว่า สำหรับตอนนี้ยังทำตัวเรดาร์ไปก่อน ส่วนเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจจะเกิดขึ้นมาใหม่ได้ เราอาจจะสอดแทรกไปด้วยได้ เช่นการทำพวก AI Machinering หรือ ปัจจุบันทั่วโลกก็อาจจะใช้หุ่นยนต์ในการควบคุมแต่ไม่ได้เป็นแบบหุ่นยนต์เชิงประจักษ์ โอ้นี่คือหุ่นยนต์ แต่อาจจะเป็นหน้าจอสักหน้าจอหนึ่งที่เป็นการจำลองหุ่นขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันตอนนี้อาจจะมีให้เห็นแล้ว แต่อาจจะเป็นเหมือนกับผู้ช่วย (Assistance)

            ตามมาด้วยเรื่องเกม พี่ตู้มีแผนการไว้ในใจคือ ที่วางแผนไว้ ในอนาคตมีแพลนที่จะทำ Educational Game ซึ่งจะใช้ตัว Database กับ Machinering ในการปรับให้ความยากให้เข้ากับเด็กแต่ละคน เพราะว่าปัญหาปัจจุบันของการศึกษาของไทยเลยที่เห็นชัดคือทั้งห้อง จะมีเด็กส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตามทันเพื่อนและไม่ก็จะมีเด็กที่เบื่อ เพราะว่าอาจารย์สอนเบสิก แต่ว่าเขารู้อยู่แล้ว เขาจึงไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยระบบปัจจุบัน ตัวนี้ก็น่าจะเป็นตัวช่วยอาจารย์หรือว่าสามารถทดแทนในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลากรที่ดีได้

ศึกษาเรียนรู้ให้รู้จริง

            พี่ตู้แนะนำว่าเทคโนโลยีรอบตัวเราพบได้หลายอย่าง จะใช้ยังไงให้มีประสิทธิภาพก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ด้วยว่าเขาเข้าใจกับเทคโนโลยีนั้นมากน้อยแค่ไหน เทคโนโลยี เช่น  block chain ที่อาจจะมาบูม หรือเป็นพวก AI อย่างนี้ที่เราชินหูมากแล้ว คนรู้จริงหรือเปล่าว่าเทคโนโลยีพวกนั้นเขาทำอะไร แล้วถ้าเราอยากใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวเราเองต้องศึกษาด้วย

            การประชาสัมพันธ์การใช้เทคโนโลยีซึ่งเร็ว ๆ นี้ 5G เขาบอกว่าอาจจะมา ซึ่งรวดเร็วอยู่แล้ว ถ้าเอาไปใช้ สิ่งที่จะตามมาคือ ตอนนี้อาจจะยังไม่ได้ประมวลประสิทธิภาพ เทคโนโลยีนี้อาจจะยังไม่มา แต่ทีนี้เราอยากใช้หรือเปล่า ความเป็นจริงว่าจะเสถียรคืออีกสองปี แล้วเรามาใช้ โดยที่ไม่เข้าใจในเทคโนโลยีอาจจะเกิดข้อเสียได้

เทคโนโลยีต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

            พี่ตู้ได้เสริมอีกว่า บางทีอย่างคนทั่วไปอาจจะไม่ได้ศึกษาเทคโนโลยีมากนัก จะตามเทรนด์ เทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาใหม่ ต้องใช้เวลาเรียนรู้ และอาจจะไม่ได้เกิดการส่งผลกระทบกับชีวิตเราอะไรขนาดนั้น เราเห็นเทรนด์มา เราอาจจะไม่ได้ลงทุนอะไรให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ากับการดำเนินชีวิตของเรา เช่น คลื่น 5G มีข้อจำกัดบางประการด้วยความถี่ที่สูงขึ้น จะกระจายสัญญาณได้สั้นลง ต้องมีเสามากขึ้น ยิ่งความถี่สูงก็ผ่านตัวกลางได้น้อยลง อย่าง 4G ที่ใช้สามารถทะลุได้ แต่ 5G อาจจะมาถึงเราได้ห้องเดียว

อนาคตและอาชีพ

            ตอนนี้ยังไม่ได้คิดถึงอนาคตเอาไว้ว่าอยากจะทำอาชีพเฉพาะเจาะจงขนาดนั้นเลย ที่แน่ ๆ คือเรารักการเขียนโปรแกรมมาก ๆ ถามว่าเขียนแล้วสามารถเอาไปต่อยอดได้ไหม ได้หลายอย่าง เช่น โอกาสในทางธุรกิจก็มีในการตั้งบริษัท หรือการจดทะเบียนบริษัทเป็นเทคโนโลยีไปเลย รับทำโปรแกรมทุกอย่าง หรือเราอาจจะเป็นลูกน้องเขาก็ได้ แต่เราต้องดูหัวข้อนั้นว่าเราสนใจจริงหรือไม่ ทำได้จริงหรือเปล่า ซึ่งส่วนตัวตอนนี้ที่คิดไว้ก็คือ โปรแกรมเมอร์ แต่ว่าอาจจะไปเจาะจงที่พวก AI, e-Learning ตอนนี้ที่สนใจเป็นตัวผู้ช่วยต่าง ๆ อย่างเช่น Siri, Google Assistant เราอาจจะเลียนแบบเสียงให้เหมือนมนุษย์ที่สุดหรือการช่วยเหลือให้มากที่สุด พี่พีเคอธิบายให้เราเห็นภาพชัดขึ้น

ต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยี

            ส่วนพี่ตู้ตอบว่า โดยธรรมชาติของสาขานี้จะจบไปเป็น Developer บ้าง มีแนวโน้มว่าจะไปทำด้าน Game Develop แต่ในอนาคตน่าจะไปทำสิ่งที่ชอบอย่างอื่นด้วยมากกว่า ถ้าคนอื่นมองว่าจะเสียเปล่าหรือไม่ที่เราเรียนมา แต่เราไม่ทำงานตรงสาย แต่สุดท้ายแล้วเราใช้ความรู้ที่เรียนมาจากสายนี้ การคิดวิเคราะห์และเทคโนโลยี ยิ่งปัจจุบันเราประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ากับหลายอาชีพ น่าจะเป็นเรื่องดีที่เราสามารถนำสิ่งที่เรียนมาเอาไปประยุกต์กับการทำงานอย่างอื่นได้ดีที่สุด

เทคโนโลยีอยู่รอบตัวเรา

            อาชีพปัจจุบันเปลี่ยนผ่านได้เร็วมาก หนึ่งในนั้นคือเทคโนโลยีแทรกแซงได้ทุกอาชีพเลย เราเรียนสาขานี้ การเปลี่ยนแปลงของอาชีพค่อนข้างจะสำคัญ อย่างเช่นระบบธนาคารสมัยนี้เขาใช้ internet banking กันส่วนใหญ่แล้ว หรืออาชีพการปั้น Model คนปั้นอาจจะมีความรู้ความเข้าใจบางอย่าง แต่เราเอาคอมพิวเตอร์ไปช่วย อาจจะมีการสร้างในรูปแบบใหม่ได้มากขึ้นด้วย เป็นส่วนเทคโนโลยีประจำตัว ไม่ได้เป็นอาชีพขนาดนั้นแต่ก็แทรกแซงอยู่แต่ละอาชีพ พี่พีเคทำให้เราเข้าใจโลกของเทคโนโลยีมากขึ้น

            ส่วนพี่ตู้ก็ไม่แพ้กันได้ออกความคิดเห็นเพิ่มเติม ค่อนข้างที่จะได้ประโยชน์หลายทาง แต่ว่าถ้าเรามองในเชิงการลงทุนจะประหยัดไปได้หลายอย่าง ถ้าเราสามารถทำบางอย่างขึ้นมาเองได้ และทางด้านความปลอดภัยสมมติว่า จ้างคนอื่นให้มาทำงานให้เราได้ และถามต่อไปเขาจะมีทักษะการวิเคราะห์ในระดับหนึ่งว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นหรือเปล่า เราอาจจะออกแบบเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์มากขึ้น

เรียนรู้การคิดวิเคราะห์และรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

            สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขานี้ค่อนข้างฮิต พี่พีเคแสดงความคิดเห็นว่า เพราะว่าเทคโนโลยีเป็นความสนใจของตัวบุคคลในประเทศนี้ไปแล้ว อารมณ์ประเทศไทย 4.0 ซึ่งเข้ามาจริง ๆ แล้ว ต้องถามตัวเองว่าสนใจขนาดไหน น้องต้องเข้ามาอยากเรียนจริง ๆ ไม่ใช่ว่าตามเทรนด์มา

            อย่างการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วย ตัวงานด้วย ด้วยตัวงานเป็นเทคโนโลยี เป็นวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ยากง่ายสลับกันไป เทคโนโลยีไม่มีอะไรที่ง่ายขนาดนั้น เราต้องเรียนรู้ทุกวัน เทคโนโลยีเปลี่ยนไปทุกปีอยู่แล้วหรือทุกเสี้ยวนาทีก็ได้ อย่างเช่นภาษา เราจะฮิตใช้ Java หรือ C# ปัจจุบันตอนนี้ Python มาแล้วแทบจะไม่ถึงสองปีซะด้วยซ้ำ

            เทคโนโลยีเราก็ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาไม่ใช่น้องเข้ามาแล้วน้องเรียนแค่สี่ปีจบแล้วจะรับประกันว่าการันตีการทำงานเลย ไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับตัวน้องด้วย ถ้าน้องสนใจในเทคโนโลยี ก็ยินดีที่จะให้น้องเข้ามาศึกษาความรู้ เพราะที่นี่ก็เครื่องมือพร้อม อาจารย์ก็ให้คำปรึกษาที่ดี

            ส่วนพี่ตู้ได้แนะนำถึงสาขาสาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ว่า สาขาเกม ถ้าเรามีใจรักในการล่นเกมอย่างเดียวจะไม่พอ เพราะว่าการ develop เกมขึ้นมา กับการที่เราไปนั่งเล่นเกม ค่อนข้างที่จะแตกต่างกันมาก และถ้าเข้ามาสาขานี้จะมีเรียนการ Design Modeling Animation แต่ว่าสุดท้ายแล้วพื้นฐานของการเรียนสังกัดอยู่ในวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทุกคนต้องเรียนต้องพยายามที่จะเรียนรู้การคิดวิเคราะห์การเขียนโปรแกรม สร้าง logarithm ขึ้นมา และก็อย่างที่พี่พีเคบอกคือ การทำงานในสายนี้เรียนจบสี่ปี เราใช้อย่างเดิมตลอดไม่ได้ เราจบไปทำงานครึ่งปี หรือผ่านไปทั้งปีแล้ว เขาอาจจะเปลี่ยนระบบทั้งระบบเลยก็ได้ เราก็ต้องปรับตัวให้ทันทุกเวลา

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ พี่ตู้-คงอัคคณัฐ โชคธัญญาวัฒน์ และพี่พีเค-พลวัฒน์ คำแล รุ่นพี่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Writer

เด็ก DM03 รักในการวาดรูป และมีความใฝ่ฝันอยากเป็น 3D Animator ในอนาคต

Writer

อยากที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด โดยเฉพาะงานกราฟิก และอยากลงมือทำงานจริง ได้เรียนรู้ประสบการณ์จริง อยากรู้ว่าฝีมือของเราจะพัฒนาไปได้มากแค่ไหน

Photographer

เด็กดิจิทัลมีเดียชอบเที่ยวและรักการถ่ายภาพ ชอบเก็บบรรยากาศทุกที่ ที่ได้ไป เพื่อเป็นความทรงจำผ่านทางรูปถ่าย ชอบฝึกฝีมือและจะรู้สึกดีทุกครั้งที่ทำอะไรใหม่ ๆ ได้

Photographer

มีใจรักในการแต่งภาพ ถ่ายภาพอยากเปิดมุมมองใหม่ ๆ ชอบท่องเที่ยว เปิดประสบการณ์ที่ไม่ใช่แค่ในห้องสี่เหลี่ยม ทุกครั้งที่ได้ฝึกอะไรใหม่ ๆ ได้ จะเพิ่มประสบการณ์ทุกครั้งได้

Photographer

อยากลองเปิดประสบการณ์ใหม่ๆให้ตัวเอง อยากได้ลองทำงาน อยากเรียนรู้ว่าตนเองควรเพิ่มทักษะด้านใดให้ดีขึ้น เพื่อที่จะทำงานกับคนอื่นได้