โอฮาโย อบอุ่นกับความงดงามทางวัฒนธรรม ภาพยนตร์สั้นความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น จาก Rina Naganuma

The Screening of Cross-Cultural Film Production by RINA NAGANUMA

         โอฮาโย! นี่คือเสียงของคนรักหนัง ชวนทุกคนมาดูหนังด้วยกัน The Screening of Cross-Cultural Film Production by RINA NAGANUMA งานฉายภาพยนตร์ข้ามวัฒนธรรม โดย คุณรินะ นากานูมะ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น ที่ได้ร่วมมือสร้างภาพยนตร์กับทีมงานชาวไทย

         โอบกอดความงดงามทางวัฒนธรรม ชมภาพยนตร์สั้นความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นจาก Rina Naganuma ที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ละมุนไปกับภาพยนตร์สั้นฟีลญี่ปุ่นที่ถ่ายทำในประเทศไทย จัดฉายที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภายใต้ชื่องาน The Screening of Cross-Cultural Film Production by RINA NAGANUMA

         งานฉายภาพยนตร์สั้นข้ามวัฒนธรรม โดยคุณรินะ นากานูมะ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น ที่ได้ร่วมมือสร้างภาพยนตร์กับทีมงานชาวไทย จับมือกับผู้อำนวยการสร้างชาวไทย อย่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ สุทธิสีมา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์, และสอนทางด้านภาพยนตร์ที่ คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการภาพยนตร์มาอย่างยาวนาน เป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักวิชาการ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ อดีตบรรณาธิการนิตยสารด้านภาพยนตร์

         ภาพยนตร์จากกิจกรรม The Screening of Cross-Cultural Film Production by RINA NAGANUMA ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation), ชมรมวิจารณ์บันเทิง, คณะนิเทศศาสตร์, คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

         คุณรินะ นากานูมะ เจ้าของรางวัลจากหลายเทศกาลทั่วโลก เช่น Boden International Film Festival ที่มาร่วมฉายภาพยนตร์และพูดคุยอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ในบริบทข้ามวัฒนธรรม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ สุทธิสีมา ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมดำเนินรายการ

คุณรินะ นากานูมะ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ สุทธิสีมา ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์
คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมดำเนินรายการ

         งานจัดในวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมปองทิพย์ 3 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Main Campus ผู้เข้าร่วมงานได้รับชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง Afterglow (2019, ความยาว 33 นาที, พูดไทย) และ School Girl Mini-Ski Rhapsody (2021, ความยาว 22 นาที, พูดญี่ปุ่น บรรยายไทย)

         Afterglow บอกเล่าเรื่องความรัก ความลับ และความเจ็บปวดของเด็กสาวที่พยายามกลับมาทำตามความฝันในเรื่องการเต้น ภาพยนตร์ถ่ายทำในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความสวยงามของวิวทิวทัศน์ภูเขาและธรรมชาติราวกับภาพวาด ความพิเศษอีกอย่างคือใช้นักแสดงเป็นคนไทย รวมถึงทีมงานทั้งหมดเป็นคนไทย ขณะที่ผู้กำกับ คุณรินะและคนเขียนบท เป็นคนญี่ปุ่นที่พูดภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ได้ นี่คือการก้าวข้ามบริบททางวัฒนธรรม ที่ประสบความสำเร็จในวงการภาพยนตร์

         School Girl Mini Ski Rhapsody เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตสาวน้อยนักเล่นสกีอัจฉริยะที่กลับมาสู่วงการการแข่งขันอีกครั้งและได้กลับมาพบกับคู่แข่งของเธอที่หมกมุ่นอยู่กับชัยชนะ

         หลังการฉายภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง เปิดวงเสวนาชวนผู้ชมวิเคราะห์ภาพยนตร์ พูดคุยถกถามเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องหลังการสร้างและการประสานทางวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับไทยพร้อมการเปิดบรรยายพิเศษ (Master Class) ถ่ายทอดประสบการณ์สร้างภาพยนตร์ในแบบอิสระของญี่ปุ่น How to do a Japanese Independent Filmmaking

         โดยคุณรินะ อธิบายถึงการถ่ายทำภาพยนตร์ที่ก้าวข้ามขีดจำกัดในเรื่องภาษาว่า ถึงจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่คุณรินะหลงรักในประเทศไทย สิ่งที่มีค่ากว่าความลำบากทางด้านภาษาที่แตกต่างกัน ก็คือการถ่ายทอดอารมณ์ และแนวคิดของภาพยนตร์ออกมาให้ผู้ชมได้เข้าใจและหลงรักในวัฒนธรรมที่แตกต่าง

         ภายในงานคุณรินะ เปิดใจพูดคุยกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเองถึงเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ แบ่งปันเทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องลึก เป็นวงสนทนาสุด Exclusive เกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องหลังการสร้างและการประสานทางวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับไทยอย่างลงตัว งานนี้จึงเป็นดั่งงานของคนที่หลงรักในภาพยนตร์และอยากจะศึกษาเกี่ยวกับการทำภาพยนตร์ บริบทวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของไทยและญี่ปุ่น

         มาร่วมดื่มด่ำความงดงามของภาพยนตร์ที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่น ที่บอกได้เลยว่า ทุกคนจะต้องหลงรักเหมือนเราอย่างแน่นอน

Photo & Poster: The Screening of Cross-Cultural Film Production by RINA NAGANUMA

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ โครงการ The Screening of Cross-Cultural Film Production by RINA NAGANUMA ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation), ชมรมวิจารณ์บันเทิง, คณะนิเทศศาสตร์, คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Writer

นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Photographer

นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Graphic Designer

นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ