ดนตรีคือชีวิต มิตรภาพ และกำลังใจ ฟังเรื่องเล่าของรุ่นพี่ชมรมดนตรี ม.กรุงเทพ

ฟังเรื่องเล่าของสองหนุ่มนักดนตรี ประธานชมรมดนตรีสากล ขับร้อง และประสานเสียง ม.กรุงเทพ

            “ดนตรีคือศิลปะแขนงหนึ่ง ที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ ดนตรีคือตัวแทนการบอกเล่าความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และเป็นสิ่งที่เราได้ยินมาตั้งแต่เกิด” นี่คือสรุปใจความ คำบอกเล่าสั้น ๆ ของสองหนุ่มหัวใจดนตรี พี่เปอร์-กัมปนาท สีม่วงพันธ์ นักศึกษาสาขาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ และพี่เน-วีรวุฒิ ช่องสาร นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยากรุงเทพ ทั้งสองคนเป็นประธานชมรมดนตรีสากล ขับร้อง และประสานเสียง ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พี่เปอร์-กัมปนาท สีม่วงพันธ์ (ซ้าย) นักศึกษาสาขาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ และพี่เน-วีรวุฒิ ช่องสาร (ขวา) นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยากรุงเทพ

            คนที่หลงใหลในเสียงดนตรีต้องอยากรู้จักกับรุ่นพี่ทั้งสอง เราชวนฟังเรื่องเล่าและจังหวะชีวิตของคนชอบดนตรี ซึมซับความละเอียดอ่อนของดนตรี จากบทสัมภาษณ์ของรุ่นพี่สองหนุ่มสุดหล่อกันได้เลย

คนดนตรีคุณภาพจาก ม.กรุงเทพ

            ชมรมดนตรีสากล ขับร้อง และประสานเสียง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นอีกหนึ่งชมรมที่มีสมาชิกจำนวนมาก และเปิดรับน้องใหม่ทุกปี ชมรมนี้มีประธานชมรมเป็นสองหนุ่มที่มาจากต่างคณะ แต่มีหัวใจนักดนตรีเต็ม 100

รู้จักชมรมดนตรีสากล ขับร้อง และประสานเสียง ม.กรุงเทพ

            พี่เปอร์และพี่เน บอกเล่าประวัติชมรมโดยย่อว่า ชมรมนี้ เริ่มก่อตั้งจากทีมประสานเสียง ถ้านับตั้งแต่รุ่นแรกก็ประมาณ 29 ปีแล้ว ปัจจุบันสมาชิกรุ่นที่ทำงานอยู่ มีประมาณ 130 คน ชมรมไม่เพียงแต่มีกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังออกไปทำกิจกรรมภายนอกด้วย เพื่อพัฒนาตัวนักดนตรีในชมรม แล้วก็เป็นการหาประสบการณ์ให้กับคนในชมรมด้วย

            ชมรมดนตรีสากล จะมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือ BU Folk Band เป็นการรวมวงเล่นดนตรีด้วยกัน ส่วน BU Chorus คือการส่วนของการร้องประสานเสียง

อยากเข้าชมรมดนตรี จำเป็นต้องมีทักษะด้านดนตรีพื้นฐาน

            คนที่สนใจด้านดนตรีต้องมีทักษะด้านการฟัง การจับจังหวะ การใช้เสียง การร้อง ถ้าเล่นเครื่องดนตรี ต้องอ่านโน้ตได้ เหล่านี้คือทักษะของนักดนตรี ซึ่งในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกหรือออดิชั่นโดยพี่ ๆ ในชมรมอย่างเข้มข้น รุ่นน้องที่สมัครเข้าชมรมดนตรีส่วนใหญ่มีพื้นฐานการอยู่ในวงดนตรีมาตั้งแต่สมัยมัธยม บางคนเคยอยู่วงโยธวาทิต บางคนเคยอยู่ชมรมดนตรีไทยมาก่อน

            พี่เน เล่าว่า การออดิชั่นเข้าชมรมแบ่งเป็น 2 อย่าง อย่างแรกก็คือทักษะ ชมรมเราก็ต้องการคนที่มีทักษะมาบ้าง อีกอย่างหนึ่งคือความคิดหรือแอดติจูดของแต่ละคนที่มาสมัคร เพราะว่าชมรมเราทำงานกันหลายคน ทำงานร่วมกับผู้อื่น คัดความเป็นทีมเวิร์คด้วย พี่เปอร์เสริมว่า ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นกัน

            สำหรับคนที่คิดจะเข้าชมรมนี้ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะกระทบกับการเรียน ชมรมมีการแบ่งเวลาตอนซ้อม ก็คือจะให้คนที่เล่นดนตรีส่งตารางเรียนมาให้เรา แล้วชมรมจะจัดเป็นตารางซ้อมของวันที่ว่างของแต่ละคนไว้ให้ เพื่อให้เด็กมีเวลาซ้อมที่ไม่ชนกับการเรียน แล้วก็จะมีการซ้อมพาร์ทหลังเลิกเรียนอีกด้วย พี่เนอธิบายเรื่องเครื่องดนตรีในชมรมให้ฟังว่า แต่ละวงก็จะมีสไตล์แตกต่างกัน เครื่องดนตรีที่เป็นหลักจะมีกีตาร์ ร้อง เบส กลอง คีย์บอร์ด และเครื่องเป่า

การซ้อมและการแสดงดนตรีชมรมดนตรี

            ชมรมดนตรีสากล ขับร้อง และประสานเสียง มีงานและกิจกรรมที่ได้ไปเข้าร่วมสม่ำเสมอ งานของมหาวิทยาลัย เช่น Welcome to BU, พิธีรับปริญญาบัตร, งาน Open House รวมถึงงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการประสานมา จึงต้องมีการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง พี่เปอร์เล่าว่า การซ้อมแต่ละเพลง ขอบอกก่อนว่าจะคิดเป็นแต่ละโปรเจคที่ได้รับมา เราจะคิดเป็นโชว์ แต่ละโชว์ก็ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ถึง 2 อาทิตย์ แล้วแต่ความสั้นยาวของโชว์นั้น ๆ เพราะฉะนั้นต้องมีการจัดคิวและเตรียมความพร้อม

            ส่วนการเลือกเพลงก็จะพิจารณาจากคอนเซปต์งานที่ได้รับมา เช่น งานรับปริญญาเราก็จะเล่นโฟล์คชิล ๆ เพลงที่เก่าหน่อย เน้นความหมายดี เปรียบเทียบระหว่างงานลอยกระทงเราก็จะเล่นเพลงสนุก ๆ Full Band

เล่นดนตรีด้วยความรัก

            พี่เปอร์ เล่าย้อนให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นเข้าวงการดนตรีอย่างจริงจังตอนมัธยมปีที่ 1 รวมวงกับเพื่อน ๆ พี่เปอร์จะรับหน้าที่เป็นนักร้องนำมาโดยตลอด พอขึ้นมามหาวิทยาลัยก็ยังคงร้องนำ สลับกับทำหน้าที่อื่น ๆ ในชมรม ดูแล อีกทั้งยังช่วยประสานงานต่าง ๆ ภายในชมรมที่เกี่ยวกับดนตรีทั้งหมด

            ส่วนพี่เนเริ่มเล่นตอนประถมปีที่ 6 เล่นอูคูเลเล่ เป็นอย่างแรก ต่อเนื่องมาจนถึงกีตาร์ ช่วงนั้น อูคูเลเล่กำลังฟีเวอร์ ก็ขโมยของพี่ชายมาหัดเล่น สนุกดี เราเอามาเล่นรู้สึกว่ามันไม่ต้องหา หมายถึงเป็นของพี่ชาย มีอยู่แล้ว แล้วเราอยากลอง รู้สึกว่า ถ้าเราเล่นแล้ว จริง ๆ รู้สึกยังไง

            เพราะฉะนั้น การมาเข้าชมรมของพี่เปอร์และพี่เน จึงเริ่มจากตัวเองเป็นคนรักในเสียงดนตรีอยู่แล้ว ชอบร้องเพลง เข้าชมรมก็อยากจะมาหาเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และหาประสบการณ์ให้ตัวเอง

เสน่ห์และความท้าทายของดนตรีคือการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

            ความสนใจเกี่ยวกับดนตรี ความน่าหลงใหล เสน่ห์ของดนตรีสำหรับพี่เปอร์คือ ตัวพี่คิดว่าเกิดมา เราก็ได้ยินเสียงดนตรีแล้ว พ่อแม่เราเปิดให้ฟัง ดนตรีมันเป็นสากลมาก ทั่วโลกก็ฟังดนตรี ขณะที่พี่เนบอกว่า ดนตรีมีเสน่ห์ เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มันไม่สามารถพูดมาเป็นคำพูดได้ มันเป็นความรู้สึกที่แบบว่า มันเจ๋ง !!!

            ส่วนความท้าทายในการเล่นดนตรีคือการฝึกฝน พี่เปอร์ ยกตัวอย่างว่า เรื่องของการร้องเพลง บางคนอาจคิดว่าการร้องแค่จำเนื้อแล้วมาร้อง ซึ่งมันไม่ใช่ มันคือการฝึกฝนมากกว่า ต้องมีความสม่ำเสมอ ยังต้องเรียนรู้เรื่องเทคนิคการร้อง การรักษาเสียงตัวเอง และการพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

            พี่เน เสริมว่า การร้องคือการอธิบายอารมณ์ ถ้าสำหรับภาคดนตรี จะมีเรื่องความยากของแต่ละเครื่องดนตรี ความท้าทายของแต่ละเครื่องดนตรี ซึ่งบางคนอาจจะหัดเล่นดนตรีแบบพื้นฐาน แล้วพอเข้าไปเรียนรู้แบบลึก ๆ ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ คิดว่าเป็นความท้าทายค่อนข้างมาก แล้วก็สนุกด้วย

ดนตรีคือทุกอย่างของชีวิต

            การเล่นดนตรีอยู่คู่กับมนุษย์มายาวนาน แล้วดนตรีให้อะไรกับพี่ทั้งสองบ้าง เราถามต่อ พี่เปอร์บอกว่า ให้ทุกอย่าง คิดภาพตัวเองไม่ได้เล่นดนตรีไม่ออก ไม่ได้ซ้อมกับเพื่อนก็ไม่เห็นภาพนั้น เราได้เรียนรู้จากดนตรี เราดูศิลปินคนนี้เราอยากเป็นแบบเขา เราอยากร้องเพลงเขาได้ พอเราร้องก็เหมือนกับการผ่านด่านไปเรื่อย ๆ โตขึ้นก็อยากมีผลงานเป็นของตัวเอง แล้วก็เอาจากประสบการณ์ตรงนั้นมาทำให้เป็นผลงานของเรา ดนตรีจึงให้หลายอย่างมาก มาอยู่ในชมรมนี้ก็ได้มิตรภาพ การแลกเปลี่ยนความรู้กัน ได้เรียนรู้หลายอย่างจากดนตรี

            พี่เนบอกว่า ดนตรีทำให้เกิดความท้าทายในแต่ละวัน ตอนสมัยเพิ่งหัดเล่นวัยนี้เราก็จะเจอแค่ว่า เราต้องหัดเล่นให้เป็น เราต้องหัดเล่นไปอวดเพื่อน แต่พอเราโตขึ้นมาเรื่อย ๆ เราก็จะเจอความท้าทาย เล่นบนเวที สเกลทุกอย่างมันใหญ่ขึ้นตามวัยของเรา เราก็เลยรู้สึกว่ามันสนุกที่ได้ท้าทายตัวเองด้วย ดนตรีคือทุกอย่างของชีวิต ที่เราเป็นทุกวันนี้ ตัวตนเรา ทุกอย่างของเราเกิดมาจากดนตรี

มองไปยังอนาคตบนถนนสายดนตรี

            เป้าหมายในอนาคตและการต่อยอดความชอบด้านดนตรี พี่เปอร์ บอกว่า เน้นการฝึกฝนตนเอง ให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ และเสริมความรู้ด้านดนตรี ฟังเพลงแนวใหม่เพิ่มขึ้น ช่วยให้เราสร้างสรรค์งานดนตรีในแบบของเราได้ ส่วนพี่เน มุ่งมั่นว่าอาจจะยึดเป็นอาชีพ เพราะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

            ฝากติดตาม Facebook Fanpage ชมรมดนตรีสากลและขับร้องประสานเสียง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Instagram @imscc_bu การออดิชั่นรับเข้าชมรมมีประจำทุกปี ถ้าสนใจให้เตรียมตัวมาให้พร้อม แล้วก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชมรมดนตรี แล้วคุณอาจจะค้นพบความหมายใหม่ของชีวิตที่นี่ก็ได้

             ฝากติดตาม Facebook Fanpage ชมรมดนตรีสากล ขับร้อง และประสานเสียง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Instagram @imscc_bu การออดิชั่นรับเข้าชมรมมีประจำทุกปี ถ้าสนใจให้เตรียมตัวมาให้พร้อม แล้วก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชมรมดนตรี แล้วคุณอาจจะค้นพบความหมายใหม่ของชีวิตที่นี่ก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก Facebook Page ชมรมดนตรีสากล ขับร้อง และประสานเสียง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Writer

คติประจำใจ “There are no mistakes, no coincidences. All events are blessings given to us to learn from.” - Elizabeth Kubler-Ross, M.D.

Writer

คติประจำใจ “The future depends on what we do in the present.” - Mahatma Gandhi

Writer

อย่ายอมแพ้กับเรื่องที่ยังมาไม่ถึง

Writer

สิ่งสำคัญกว่าความขยันคือการเชื่อมั่นในตัวเอง

Writer

คำพูดของคนเราห้ามไม่ได้หรอก ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะรับมืออย่างไรกับมัน

Writer

หนุ่มบางปะกง ตาหวาน ผิวขาว จัดฟัน จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มีความฝันอยากจะเป็นนักแสดง เพื่อสร้างรอยยิ้มให้กับทุกคน และชื่นชอบการทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

Photographer

อย่าไปเสียใจกับอดีตเก็บไว้เป็นข้อผิดพลาดแล้วนำมันมาปรับปรุง

Photographer

ทำในสิ่งที่รัก รักในสิ่งที่ทำ

Photographer

คติประจำใจ ความพยายามคร้ังที่ 100 ดีกว่าคิดท้อถอยก่อนที่จะทำ