จุดประกายความคิดการเรียนรู้กับอาจาย์ปาน-ดร.นฤเทพ สุวรรณธาดา

บทเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ฝึกทักษะการคิดได้หลากหลายและรอบด้าน

            เชื่อว่าเพื่อนหลายคนอาจเคยสงสัยว่า วิชา GE คืออะไร ทำไมต้องเรียน เรียนแล้วได้อะไร เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ อาจารย์ปาน-ดร.นฤเทพ สุวรรณธาดา อาจารย์จะมาช่วยไขข้อข้องใจในการเรียนรู้วิชา GE ให้กับทุกคน

ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง

            อาจารย์ไม่ได้จบ GE โดยตรง ไม่ได้จบสายการศึกษามาโดยตรง แต่จบด้านวิศวกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ไปต่อระดับปริญญาโทด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และต่อระดับปริญญาเอกด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา แต่ว่าสิ่งที่เราค้นพบคือ ในระหว่างการเรียนทุกกระบวนการที่เราเรียนมาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก GE ในปัจจุบันตัวแปรหลักคือกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

            สิ่งที่ค้นพบคือเราเอาประสบการณ์ในการเรียนของเรามาสังเคราะห์ให้ได้รูปแบบแบบหนึ่งที่ทำให้เด็กสามารถค้นพบตัวตนให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้เขาประสบความสำเร็จในการทำงานหรือการเรียนและมากกว่านั้น คือส่วนตัวนอกจากเป็นอาจารย์แล้วยังทำธุรกิจนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศมาขายในไทย ทำให้เราเห็นภาพว่าคนในปัจจุบันและในอนาคตรวมถึงเด็กรุ่นใหม่ เวลาที่เขาจะประกอบอาชีพในอนาคต มีโอกาสสูงมากที่เด็กรุ่นใหม่จะประกอบอาชีพหลายอาชีพ ดังนั้นวิธีที่เขาจะค้นพบตัวเอง ค้นพบความชอบ หรือค้นพบสิ่งอะไรก็ตามที่สามารถทำให้เขาสร้างอาชีพใหม่ได้ในอนาคตเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเกิดขึ้นในวิชา GE

GE มุ่งเน้นพัฒนาทักษะ

            ถ้าพูดถึง GE หากแปลตามตัวเลย คือ General Education คือวิชาศึกษาทั่วไปเป็นวิชาที่ใช้ในการปูพื้นฐานการใช้ชีวิตของเด็กทุกคนที่จะต้องเติบโตไปอยู่ในโลกแห่งอนาคต ซึ่งในมุมมอง GE เมื่อในอดีตเรามองว่าเด็กต้องเรียนทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะเรื่องของภาษาไทย กฎหมาย ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี หรืออะไรก็ตาม แต่ GE ในมุมปัจจุบันที่อาจารย์กำลังทำอยู่คือเป็น GE ในเรื่องของการปลูกฝังวิธีคิด ทักษะในการพัฒนาความคิด

            เพราะเรามีความเชื่อว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กคิดได้ เด็กเขาจะสามารถเอาวิธีคิดเหล่านั้นไปพัฒนาต่อยอดได้ เช่น มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ คือทั้งหมดนี้มันถูกฝึกถูกจัดกระบวนการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเป็นหลัก

ดึงศาสตร์ด้านวิศวะฯ มาปรับใช้สอน สร้างความแปลกใหม่

            เรื่องที่อาจารย์สอนแล้วไม่เหมือนคนอื่นเลย คือเรื่อง Computational Thinking ความคิดแบบรวบยอด หรือวิธีการคิดแบบ Coding คือการคิดแบบคอมพิวเตอร์ โดยดึงศาสตร์ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับ GE เราได้เอามุมนี้มาลองเล่น โดยการที่เราให้เด็กคณะเกมที่วาดรูปเก่ง มาวาดรูปแข่งกับหุ่นยนต์ที่เป็นโรบอทที่อยู่ใน AI ที่อยู่ในเว็บไซต์ของ Google เรามาวาดรูปแข่งกันปรากฏว่าเด็กเราแพ้ เราก็จะให้เขาเห็นภาพว่าแม้เขาจะเก่งแค่ไหน ยังมีคนที่เก่งกว่าเขาเสมอ

            ดังนั้นเขาอาจจะต้องพัฒนาตนเองให้เทียบเท่า หรือถ้าเทียบเท่าไม่ได้ต้องเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้ให้เป็น เด็กจะเห็นภาพมากขึ้นว่า ไม่ว่าเขาจะเรียนสาขาอะไร เทคโนโลยีจะเข้ามาทำให้เขาใช้ชีวิตลำบากขึ้นหรือใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นมาก ถ้าเขาสามารถรู้จักมัน อันนี้คือวิธีการที่เราสอนในคลาสซึ่งสนุกมาก อย่างเช่นเราแข่งกันระหว่างเด็ก 2 ทีม ลองวาดรูปแข่งกับ  Google หรือวาดแล้วให้ Google เดาว่ามันคือรูปอะไร Google สามารถเดาถูกได้ทุกรูป 100% ของการวาดรูปของเด็กจากคณะเกมที่คิดว่าตนเองวาดรูปเก่ง ก็สามารถถูกเดาได้ทั้งหมด นักศึกษาเป็นแบบนี้ คือทำให้เราเห็นภาพว่าเวลาที่เด็กได้ลองทำจริง เด็กจะใกล้ชิดหรือสัมผัสกับสิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเขียน AI เด็กอาจจะคิดไม่ออกว่า AI คืออะไร แต่พอเขาได้ลองวาดรูปแข่งกับ AI เขาจะได้เห็นภาพว่า AI มันฉลาดจริง ๆ สามารถเดาได้ว่าเรากำลังคิดอะไรหรือทำอะไรอยู่

เราให้เด็กทำอะไร เราต้องลองทำก่อนเสมอ

            สิ่งสำคัญที่สุดคือ ลองทำกระบวนการทั้งหมดด้วยตนเอง เช่น เราคิดรูปแบบเอง เราถอดโมเดลวิธีการเรียนรู้ ในอดีตเราอาจจะใช้สไลด์ในการสอนไปเรื่อย ๆ แต่ปัจจุบันเราทำเป็นกิจกรรม ดังนั้นวิธีการทั้งหมดคือ เราจะให้เด็กทำอะไร เราต้องทำก่อน อย่างที่ 2 คือเราจะให้เด็กทำอะไร LXD หรือผู้ช่วยสอนของเราต้องลองทำก่อน ถือเป็นการสะท้อนว่าในมุมของอาจารย์ อยากทำแบบนี้เพื่อให้เด็กได้ทักษะแบบนี้ ในมุมของเด็กที่เป็นรุ่นพี่ลองทำแบบเดียวกันได้ทักษะอะไร แล้วถ้าเกิดในมุมของผู้เรียนเองลองทำในสิ่งที่เราไปลองกับตนเอง ลองกับ LXD แล้วเขาจะได้ในสิ่งนั้นหรือไม่ หรือต้องปรับอะไร ซึ่งหลายครั้ง

            เราค้นพบว่าสิ่งที่เราคิดว่าดี อาจจะไม่ดีสำหรับเด็กปัจจุบัน ซึ่งต้องมีการปรับตลอดเวลา ทั้งหมดนี้ทำให้เราเห็นภาพว่าในคลาส GE เองการเตรียมการสอน เป็นความยากพอสมควร เพราะต้องปรับตามเด็กที่อยู่ในคลาส ยกตัวอย่างเช่นในเทอมนี้ อาจารย์สอนเลเวล 2 นี่ 2 คลาส วันพุธกับพฤหัส ทั้ง 2 คลาสนี้กิจกรรมเหมือนกันแต่รูปแบบการทำกิจกรรมการยกตัวอย่างหรืออะไรก็ตามไม่เหมือนกัน เพราะว่าตัวเด็กต่างกัน ต่างคณะกัน ต่างรูปแบบกัน

ค้นพบตัวตนที่แท้จริงคือสิ่งที่คาดหวัง

            ประเด็นเดียวที่อาจารย์คาดหวัง คืออยากให้เด็กค้นพบตัวเอง ในมุมของอาจารย์คือการค้นพบความชอบ ค้นพบสิ่งที่ถนัด ค้นพบสิ่งที่สามารถทำให้เกิดอาชีพได้ และสุดท้ายคือค้นพบสิ่งที่สามารถตอบสนองต่อโลกใบนี้ได้หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโลก อันนี้คือสิ่งที่อาจารย์อยากให้เด็กค้นพบในคลาส ส่วนทักษะต่าง ๆ ความรู้ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เด็กเขาต้องลงมือทำจากในคลาสหรือนอกคลาสก็ตาม หรือกระบวนการใด ๆ ในคลาสที่เขาสามารถไปทำซ้ำเพื่อให้ค้นพบสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด

สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

            เกณฑ์การให้คะแนนของอาจารย์ในคลาสมีหลายรูปแบบ รูปแบบแรกคือเกณฑ์การให้คะแนนที่เกิดจากการสะท้อนของตัวเขาเอง ซึ่งเกณฑ์นี้อาจารย์ตั้งชื่อว่า SDL (Self-directed Learning) คือการที่เด็กตั้งหัวข้อขึ้นมาหัวข้อหนึ่งว่าเขาอยากเรียนรู้อะไร ในรายละเอียดนั้นมีอะไรบ้างที่เขาต้องการเรียนรู้ เรียนรู้แล้วเกิดประโยชน์ต่อเขาอย่างไร และสุดท้ายคือเขาอยากให้ทุกคนประเมินผลในสิ่งนั้นอย่างไร นั่นคือสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในคลาสของอาจารย์

            สิ่งที่อาจารย์จำลองนี้ขึ้นมาเพราะว่าอาจารย์ต้องการรู้ว่าเด็กสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองได้จริงหรือไม่ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเขาเอง สมมุติว่าเขาอยากเรียนเรื่องไอดอลเกาหลี เขาอยากเรียนรู้ดีเทลของไอดอลเกาหลีว่าอะไร ประโยชน์ของการเรียนรู้นั้นเกิดจากอะไร และสุดท้ายคือเขาอยากให้คนประเมินเขาอย่างไร เราจะเห็นว่าเด็กคนหนึ่งที่ศึกษาเรื่องไอดอลเกาหลี เขาจะชี้เป้าให้เห็นภาพว่าการชอบของเขาต่อยอดเป็นอาชีพได้จริง ลักษณะแบบนี้เราจึงเห็นภาพว่าทุกความชอบมีคุณค่าเสมอ

            ถ้าเรารู้จักเคารพในความชอบของคนอื่นจะเป็นสิ่งที่ดีมาก ดังนั้นการประเมินในแบบที่ 1 คือเกิดขึ้นจากตัวเด็กเอง แบบที่ 2 คือเกิดขึ้นจากเพื่อนของเขา เพื่อนจะเป็นคนสะท้อนว่าเด็กคนนี้เป็นยังไงตอนทำกิจกรรมในกลุ่มและสุดท้าย คือการประเมินจากตัวอาจารย์ อาจารย์จะมีประเด็นในการประเมินว่าอยากรู้เรื่องไหนให้ไปถามเรื่องนั้น แล้วสุดท้ายคือการประเมินผ่านแบบวัดต่าง ๆ อย่างเช่นของอาจารย์ก็จะมีแบบประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเด็กก็จะเป็นคนสะท้อนว่าในมุมของเขาตอนก่อนเขาเรียนกับเราเป็นยังไงและปัจจุบันเขาเป็นอย่างไรดีขึ้นหรือไม่เพราะอะไร

LXD ผู้ขับเคลื่อนวิชา GE

            คนที่เป็น LXD จะมีการประเมินที่แตกต่างกันกับคนที่นั่งเรียน เพราะนักเรียนกลุ่มนี้จะต้องมีการซักซ้อมมาก่อน ก่อนที่จะเกิดกิจกรรมจริง เช่น ในสัปดาห์นี้จะมีกิจกรรม A ทุกคนจะต้องผ่านการทำกิจกรรม A ก่อนที่จะอยู่ในห้อง ดังนั้นเขาจะทำในรอบที่ 1 และในส่วนของรอบที่ 2 คือการทำในห้อง ทำเสร็จเด็กจะพัฒนาขึ้น และสุดท้ายคือเมื่อทำกิจกรรมเสร็จในรอบวันนั้นเขาจะมาฟีดแบ็คกับเราว่าวันนี้เป็นอย่างไร

            ดังนั้นการประเมินนักเรียนกลุ่มนี้จะถูกประเมินในทุก ๆ อาทิตย์ผ่านตัวอาจารย์ แต่การประเมินนั้นไม่ได้ถูกประเมินมาเป็นรูปแบบของคะแนน แต่ถูกประเมินในรูปแบบของพัฒนาการ เราจะเห็นพัฒนาการของแต่ละคนที่ชัดเจนขึ้นและสุดท้ายการตัดเกรด จะถูกตัดเกรดจากการสัมภาษณ์  LXD จะเป็นคนสะท้อนเป็นคน Reflection ตัวเองว่า ก่อนที่จะมาเป็น LXD มีความคาดหวังแบบนี้ พอมาเป็นแล้วเป็นแบบนี้ กระบวนการที่เขาต้องพัฒนามีอะไรบ้าง แล้วเราจะค้นพบว่านักเรียนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ของอาจารย์จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะเด็กในคลาสพัฒนา ดังนั้นถ้า LXD ไม่พัฒนา เขาจะถูกกดดันจากเด็ก ดังนั้นวิธีการคือเขาจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แล้วเขาจะเห็นภาพตนเองที่แตกต่างมาก ๆ ตั้งแต่เริ่มคลาสจนถึงคลาสสุดท้าย

GE ต่อยอดอะไรได้มากกว่าที่คิด

            แน่นอนว่าวิชา GE เป็นพื้นฐานของชีวิต ถ้าฐานเราแน่นเราสามารถที่จะไปทำหรือต่อยอดอะไรได้เยอะมาก เช่นวันนี้เราบอกว่าเราเกิดเจอปัญหาบางอย่างขึ้นมาในชีวิตที่แย่มาก เราจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ถ้าเราฝึกในกระบวนการ GE มา เรารักตัวเองมากพอ เรารู้จักความชอบของตนเอง เราจะรู้ว่าปัญหานั้นเราจะแก้ด้วยวิธีการอะไร เหมือนกับที่มีหลายคนพูดว่า ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะว่าเรามีแค่ความรู้แต่เราไม่มีทักษะในการรู้ทันใจตนเอง รู้ทันความชอบของตนเอง ดังนั้นสิ่งสำคัญในคลาสของอาจารย์ คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาสามารถรู้ทันใจ รู้ทันความชอบของเขา เขาสามารถเอาความชอบไปต่อยอดเป็นสิ่งที่สร้างเงิน สร้างอาชีพได้ในอนาคต ซึ่งในอนาคตในอาชีพนั้นมีมากกว่าสิ่งที่เราคิดไว้เยอะอย่างแน่นอน

ดึงเด็กหัวกระทิมาร่วมมือกัน

            อนาคตที่อาจารย์มองเห็นภาพ อาจารย์อยากเห็นภาพ GE เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เราต้องหาช้างเผือกดึงเด็กในคลาสให้เจอ แล้วให้เขาเชื่อมต่อในสิ่งที่เขาต้องการกับเพื่อนของเขาเองให้ได้เยอะที่สุด คือเรามีความถนัด เรามีความเชี่ยวชาญส่งต่อให้เด็ก และให้เด็กช่วยกันต่อยอด เรียนรู้ร่วมกัน

ค้นหาความชัดเจนในตัวคุณ

            ดร.นฤเทพ สุวรรณธาดา ยังฝากถึงนักศึกษาที่กำลังจะลงเรียนวิชา GE ว่าจงตั้งความหวังว่าอยากได้อะไรจาก GE จงตั้งเป้าเลยว่าการเข้ามาใน GE เราต้องการอะไรจากสิ่งนี้ จงดึงสิ่ง ๆ นั้นมาให้ได้

            จงหาความชัดเจนใน GE ให้เจอ GE คือวิชาที่จะเปิดแสงสว่างจากตัวของเราให้ชัดเจนก่อน เราศึกษาเรื่องคนอื่นมาตลอดชีวิต เราศึกษาเรื่องธรรมชาติมาตลอดชีวิต เราศึกษาเรื่องประเทศเรื่องกฎหมาย เรื่องทุกอย่างตลอดชีวิต แต่เรื่องเดียวที่เราไม่เคยศึกษาเลย คือเรื่องตนเอง เริ่มตั้งคำถามกับตนเองว่า เราจะทำอะไร อย่างไร และเพราะอะไร เข้ามาในคลาส GE เพื่อเรียนรู้ มีโอกาสค้นหาความชอบ และตัวตนของคุณให้เจอ

Writer

ความกลัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเราไม่ควรมีต่อความล้มเหลว แต่ควรมีต่อความสำเร็จในเรื่องที่ไม่ได้สำคัญกับชีวิตจริง ๆ

Writer

ชอบออกไปเที่ยวธรรมชาติ หาความสงบให้ตัวเอง เช่น ทะเล ภูเขา เห็นวิวแล้วรู้สึกหายเหนื่อย ว่างก็ฝึกวาดรูปไปเรื่อยเปื่อย วาดไป ลองผิดลองถูก แต่ถ้าได้ออกไปเที่ยว ไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ก็พร้อมรับเต็มที่

Writer

จากเด็กนักเรียนเซฟได้ผลันตัวเองมาเรียนนิเทศ มีงานอดิเรก คือดูหนัง ฟังเพลง ชอบการชอปปิ้งออนไลน์เป็นชีวิตจิตใจ รักในการท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ชอบหาความสุขให้ตัวเองและพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

Writer

เคยเรียนอยู่เซนโยเซฟคอนเวนต์ มีงานอดิเรก ชอบดูหนังในยูทูบ ชอบทำอาหารกินเล่นเป็นประจำ ชอบมากที่สุดคือเวลาว่างมาก ๆ จะทำขนมเเละให้ทุกคนชิมว่าขนมของเราเป็นอย่างไร เเละชอบเดินเล่นในงานขนม เดินชิม

Writer

ชอบฟังเพลงดูซีรีย์ทั้งวัน ส่วนใหญ่ก็จะนั่งฝึกมิกซ์เพลงทำเพลงไปเรื่อย ๆ เวลาคิดอะไรไม่ออกก็จะฟังเพลงกับดูซีรีย์วนลูปแบบนี้ ชอบออกจากบ้านตอนกลางคืนมากกว่ากลางวันเพราะร้อน ทำงานได้เกือบทุกอย่างถ้าไม่ร้อน

Writer

ผมชื่อฉลามนะครับ ผมพึ่งมาหัดถ่ายภาพครับอาจจะถ่ายไม่เก่งไม่สวย แต่ถ้าเราไม่ลองทำเราก็จะถ่ายไม่เป็น ผมจะพัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อย ๆ ครับ จะคอยเก็บประสบการณ์ให้มากขึ้น เพื่อให้มีฝีมือที่ดี

Photographer

ชื่อเล่นชื่อ ไมเคิล รักในการถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบภาพ สี และงานศิลปะต่าง ๆ จึงเลือกที่จะสอบเทียบข้ามชั้นม.6 มาเข้าคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ของม.กรุงเทพ เพื่อที่จะได้เรียนรู้ ฝึกฝนในสิ่งที่ตัวเองชอบ รักจริง ๆ ได้ทำงานก่อนเพื่อน ๆ เพื่อตัวเองและครอบครัว