เป็นเฟรชชี่ มันดีแบบนี้นี่เอง เรื่องเล่าจากรุ่นพี่ อดีตเฟรชชี่ ม.กรุงเทพ

ชีวิตการเป็นเฟรชชี่ วัยใส สนุกสนานแค่ไหน ต้องลองสักครั้งหนึ่งแล้ว!

            ปีนี้เป็นเฟรชชี่ ปีหน้าเป็นรุ่นพี่ ก็เพราะเวลาไม่เคยหยุดเดิน ในวันที่น้องใหม่กำลังทยอยเข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย รุ่นพี่วันนี้ ย้อนอดีตวันวานของวันแรกที่ก้าวพ้นชุดนักเรียน มาสวมใส่เครื่องแบบนักศึกษา

            วันวานของพี่ ๆ เขามีสีสัน และสนุกสนานแค่ไหน ลองติดตามกันดู

            “การเรียนก็เหมือนการลงทุน” หรือ แปลเป็นภาษาอังกฤษเก๋ ๆ ว่า Learning is like an investment นี่คือ คำพูดที่รุ่นพี่หนุ่มหล่อจากคณะวิศวกรรมกล่าวไว้

            โจเซฟ-สิรภัทร บุญรอด เพื่อน ๆ รู้จักเขาในชื่อ โจเซฟ เขาป็นนักศึกษารุ่นพี่แล้วจ้า อดีตรุ่นพี่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

            “จำได้ว่า วันแรกที่เข้ามา จะมีรุ่นพี่ของแต่ละคณะไปยืนรอต้อนรับน้อง ๆ อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย แล้วก็ถามว่า ผมอยู่คณะอะไร ผมก็ในลุคที่แบบกวน ๆ นิดหนึ่ง ก็เลยตอบไปว่า “อยู่คณะแพทย์ศาสตร์ครับ” พี่ก็เขาเลยงง ๆ ผมก็รีบเดินเข้าไปเลย นั่นเพราะว่า ผมรู้อยู่แล้วว่า ต้องไปที่ไหน เพราะว่า ผมมีเพื่อนอยู่แล้วคนหนึ่ง และเขาก็เป็นเพื่อนคนแรกในรั้วมหาวิทยาลัยกรุงเทพ”

เพื่อนคนแรกมาจากกลุ่มไลน์

            เพราะที่นี่มีการจัดตั้งไลน์กรุ๊ปของนักศึกษาใหม่ ทำให้เกิดสังคมเล็ก ๆ ขึ้น รู้จักกันก่อนจะพบเห็นกันตัวเป็น ๆ เสียอีก

            “ภาพวันแรกที่คิดไว้กับชีวิตมหาวิทยาลัยนั้น ต่างกันมากครับ ตอนแรกคิดว่าจะต้องมาเข้าแถวเป็นระเบียบ แต่จริง ๆ แล้วพวกพี่ ๆ เขาชิลกันมากเลยครับ กิจกรรมแรก ที่ได้เข้าร่วม คือ กิจกรรม Cheer ของคณะวิศวะครับ เพราะว่า เขาจะมีงาน BU GREM ที่มีการแข่ง Cheer เขาก็จะเอาน้อง ๆ ไปซ้อม Cheer ร่วมกันก่อน”

เพื่อนกลุ่มต่อไปจากการทำกิจกรรมร่วมกัน

            โจเซฟ เล่าว่า “หลังจากนั้น ก็ได้เพื่อนใหม่ ๆ จากการทำกิจกรรม โดยกิจกรรม Cheer ได้เพื่อนเยอะมากเลยครับ เพราะว่ากิจกรรมนี้ มีการละลายพฤติกรรมของแต่ละคน โดยทำให้ทุกคนเริ่มต้นรู้จักกันทั้งเพื่อน และพี่”

ชีวิตนักศึกษามันต้อง เกรียน กวน และป่วน

            โจเซฟ บอกถึงวีรกรรมในอดีตเมื่อปีที่แล้ว “ผมเคยทำอะไรเกรียน ๆ เยอะครับ เช่น ผมเคยเอาลำโพงบลูทูธ ตั้งไว้บนหลังคารถราง แล้วก็เปิดเสียงเพลงให้มันดังสุด ๆ แล้วก็ปล่อยให้รถรางวิ่งวนรอบมหาวิทยาลัย หรือต่อเข้ากับรถมอไซต์แล้วขับวนรอบมหาวิทยาลัย”

มีเพื่อนดีกว่าไม่มี

            สถานที่ใหม่ เพื่อนใหม่หาไม่ยากหรอก ลองใช้สูตรของโจเซฟ เขาบอกว่า “เพื่อนที่ดีสำหรับผม ไม่จำเป็นว่าเขาต้องตั้งใจเรียน หรือไม่ดื่มสุรา อันนั้นน่าจะไม่ใช่ประเด็นครับ เพื่อนที่ดี คือ เวลาที่เรามีเรื่องทุกข์ใจ หรือมีปัญหาต่าง ๆ คน ๆ นั้น เราสามารถคุยกับเขาได้ตรง ๆ แม้จะมีเรื่องบาดหมางกัน แต่เราสามารถปรับความเข้าใจกันได้ ไม่ใช่ว่า ไปแซะกันหลังไมค์ แล้วก็นินทากัน แบบนั้นผมว่ามันไม่ Ok เพราะว่าสุดท้ายแล้ว เพื่อน ก็คือ เพื่อน ยังไงก็ตัดไม่ขาด ไม่ต้องดีมากก็ได้ แต่ขอให้เป็นคนที่พูดตรง ๆ”

ถึงน้องใหม่ เมื่อคิดการใหญ่ ใจต้องถึง

            “ผมก็ขอฝากถึงน้อง ๆ ที่จะมาเข้ามาเรียนที่นี่ ถ้าเกิดน้องอยากเรียน ก็มาเรียนเลยครับ ถ้าสมมุติว่า น้อง ๆ คิดว่า การมาเรียนเปรียบเสมือนการลงทุน สิ่งที่น้องจะได้กลับไปต้องคุ้มค่า และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็เป็นสถานที่ที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน”

            สาวน้อยคนนี้เธอคือ เฌอ-ชญาฎา เพ็งใจ อดีตรุ่นพี่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้รู้ตัวเองว่า ไม่ใช่คนสายวิชาการ แต่ชอบทำงานกิจกรรม ชอบการรวมกลุ่ม และพบปะผู้คน

            เฌอบอกว่า “เป็นคนที่ไม่เก่งด้านวิชาการ ชอบทำกิจกรรมมากกว่า เลยหาไลฟ์สไตล์ที่เข้ากับตัวเอง จนมาเจอ ม.กรุงเทพ เรียกได้ว่า ตอบโจทย์กับสิ่งที่เป็น

            “เฌอมีโอกาสได้ร่วมงาน Open house ได้มาเห็นการเรียนการสอนของที่นี่ ชอบตั้งแต่แรกเห็น และเลือกที่จะเข้ามาศึกษาต่อที่นี่ เพราะที่นี่ไม่ได้เก่งแค่วิชาการอย่างเดียว ยังเน้นให้นักศึกษาเก่งในด้านการปฏิบัติ การลงมือทำอีกด้วย”

วันแรกในรั้วใหม่ที่แสนดี

            เฌอ เล่าถึงวันแรกในรั้วมหาวิทยาลัยว่า “วันแรกที่เข้ามาเรียนใน ม.กรุงเทพ รู้สึกดีมาก ตอนนั้นมากับเพื่อนด้วย แต่เรียนคนละคลาส ก็เลยไม่ได้เจอกัน ก็เดินเข้าไปในชั้นเรียน ไม่รู้จะนั่งกับใครดี เห็นเพื่อนร่วมชั้นนั่งอยู่คนเดียว ก็เลยเดินเข้าไป แล้วบอกว่า เธอ เรานั่งเรียนด้วยได้มั้ย แล้วเพื่อนก็ Ok นั่งเลย ก็เลยทำให้รู้สึกว่า เพื่อนก็ดี ห้องก็ดี อาจารย์ก็สอนดี ทุกอย่างดีไปหมดเลยค่ะ”

ทำกิจกรรมแล้วได้เพื่อน

            เธอเล่าว่า “เพื่อนกลุ่มแรก รู้จักกัน  คือจากการทำกิจกรรมหลีด เพราะว่าได้ไปคัดตัวเป็นหลีด บางคนก็ไม่ได้ แต่พวกเราก็ยังคุยกันอยู่ ยังรู้จักกัน ยังอยู่กลุ่มเดียวกัน มันเลยทำให้เราเข้าใจว่า การทำกิจกรรมใน ม.กรุงเทพ คือหนทางทำให้เรามีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น”

เป็นเฟรชชี่ มันก็ต้องเอ๋อ ๆ กันบ้าง

            เมื่อตอนปี 1 เฌอ ก็มีกิจกรรมเพี้ยน ๆ บ๊อง ๆ เยอะมาก “ความบ๊องของเราเยอะ เช่น เข้าเรียนสายเกือบทุกคาบ เน้นนะคะ ว่า เกือบทุกคาบที่เรียนเช้าค่ะ ตอนนั่งเรียน ก็จะเอ๋อ ๆ มึน ๆ ฟังอาจารย์ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่ว่าถ้าถึงเวลาทำกิจกรรม หนูเป็นดาวคนหนึ่งในคณะเลยแหละ” คือจะสรุปว่า ยืนหนึ่งไม่เป็นสองรองใครในเรื่องงานส่วนรวม

            เฌอ อยากฝากถึงน้องทุกคนว่า “ที่นี่ ม.กรุงเทพ คือ ดีมาก น้องไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีเพื่อน เข้ามาที่นี่น้องจะมีเพื่อนแน่นอนค่ะ” และเพื่อนที่ดีสำหรับเฌอ เฌอ คิดว่าคือ “เพื่อนที่คอยช่วยเหลือกันตลอด แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา แต่เมื่อไรที่เรามีปัญหา เพื่อนคนนั้น เขาพร้อมที่จะช่วยเหลือเราตลอดเวลา นี่คือ เพื่อนในนิยามของเรา”

            อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว เห็นหรือยังว่า เป็นเฟรชชี่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ พี่โจเซฟ-สิรภัทร บุญรอด รุ่นพี่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และพี่เฌอ-ชญาฎา เพ็งใจ รุ่นพี่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Writer

ชีวิตก็เหมือนกล้องถ่ายรูป โฟกัสเฉพาะจุดที่สำคัญแล้วเราจะได้ภาพที่สมบูรณ์เอง

Writer

อุปสรรคล้วนเป็นยาขม ไม่มีใครอยากลิ้มลอง แต่ขึ้นชื่อว่ายาขม ส่วนใหญ่มักจะเป็นยาที่ดีเสมอ

Photographer

ทุกการผิดพลาด จะกลายเป็นแรงผลักดันให้เรายิ่งใหญ่

Photographer

รักและชื่นชอบในการหาความรู้ใหม่ ๆ มาพัฒนาตัวเอง มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี ชอบเผยแพร่ความรู้ให้แก่บุคคลอื่น ๆ มีคติประจำใจที่ว่า ฝันไว้ไกล แต่จะไปให้ถึง !!