พลังทำดีของชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่สนใจเรียนรู้เรื่องสังคม

รู้จักรุ่นน้องจากนิเทศ ม.กรุงเทพ กับโอกาสในการทำโครงการเพื่อสังคม G-Youth Good Power Project

            ใครจะรู้ว่าวัยรุ่นอย่างเรา ก็ทำอะไรเพื่อสังคมได้ เรามาทำความรู้จักกับเหล่านักศึกษาที่ได้ทำงานเพื่อสังคม ในนาม กลุ่มเด็กดี เรื่องราวของแต่ละคนเขาทำอะไรกันบ้าง พบกับพวกเขากันเลย!!!

            เอาจริง ๆ ประเทศไทยของเรา มีมูลนิธิหรือองค์กรการกุศลอยู่จำนวนมาก การตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิใดมูลนิธิหนึ่ง บางคนอาจเลือกที่ชื่อเสียง หรือขนาดขององค์กร แต่เชื่อหรือไม่ว่า ยังมีมูลนิธิขนาดเล็กอีกจำนวนมาก ที่ยังคงมุ่งมั่นทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมด้านใดด้านหนึ่งอยู่อย่างเงียบ ๆ เราได้มาทำความรู้จักกับ กลุ่มเด็กดี จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แบ่งเป็น 2 ทีม มีรายชื่อดังต่อไปนี้

            ทีมแรก Active Citizen กระบอกเสียงช่วยสังคม ได้แก่ อั้ม-โชติกา เหลืองกังวานกิจ เก้า-ฐานันดร สินธุไชย กัส-ณัฐกฤต พรพิสุทธิ์ ชารีฟ-ชารีฟ ยังเจริญ (น้องชารีฟ) ออดี้-วรุตม์ เสริมเบญจพร

            ทีมสอง Circular Living วิถีของคนรักษ์โลก ได้แก่ เพลง-นภัสกร เสวยราช แทน-วิฆเนศ พามะณี เจน-เจนนิเฟอร์ มิเชล อัลคาเฟล ดิว-ธนวัฒน์ ตาลสุข

            กลุ่มรุ่นน้องจาก โครงการ G-Youth Good Power เป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อต้องการสร้าง Influencer รุ่นใหม่ที่ใส่ใจประเด็นสังคม โดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ส่งนักศึกษาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ และได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัย ที่จะร่วมกันสร้างเยาวชนให้ทำสิ่งที่ดีเพื่อสังคม

            กลุ่มวัยรุ่นที่เข้าร่วมโครงการจะบอกเล่าเรื่องราวทางสังคม มองเห็นถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไข จัดทำเป็นโปรเจกต์ เป็นกระบอกเสียง เพื่อสื่อสาร ส่งข้อมูลให้สังคมได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของมูลนิธิขนาดเล็ก ที่ค่อยช่วยสังคม เพื่อให้พวกเขาไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป

Active Citizen: กระบอกเสียงช่วยสังคม

            กลุ่มแรกที่เราได้มาพูดคุยมีสมาชิก คือ น้องอั้ม น้องเก้า น้องกัส น้องชารีฟ และน้องออดี้

            น้องอั้ม-โชติกา เหลืองกังวานกิจ บอกกับเราว่า โปรเจกต์ที่เราทำกัน อยู่ในขอบเขตขององค์กร ที่เรียกว่า G-Youth เป็นองค์กรที่จะถามหา พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (Active Citizen) หรือว่า เยาวชนที่สามารถเป็นกระบอกเสียง ที่สร้างปรากฏการณ์ในสังคมได้ เราก็เป็นหนึ่งในกระบอกเสียงของเขา

            มูลนิธิที่เราจะร่วมงานด้วย คือมูลนิธิคนพิการ เป็นมูลนิธิที่คอยหางานให้กับคนพิการ ที่ไม่สามารถหางานทำได้ โดยเป้าหมายของเรา คือ ทำ Content หรือเนื้อหา ที่เหมือนกับปลุกผู้คนให้ตื่น ให้รับรู้ว่า ทุกวันนี้ คนพิการสามารถทำงานได้ เขาสามารถเป็นบุคคลที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้เหมือนคนทั่วไป เพราะฉะนั้น ได้โปรดอย่ามองข้ามพวกเขา นี่คือสารที่พวกเขากำลังพยายามบอกกับสังคม

รวมกลุ่ม

            น้องเก้า-ฐานันดร สินธุไชย เล่าว่าตอนแรก เราจะทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แต่พอเราไป Workshop เราได้เห็นว่ามันมีหลากหลายมูลนิธิหลากหลายโครงการ ที่น่าสนใจ แล้วรู้สึกว่า หลายมูลนิธิยังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก ถ้าเราทำในส่วนนี้ เราจะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับมูลนิธิได้ เราปรึกษาอาจารย์ และแบ่งกลุ่มย่อย ตามความสนใจในสิ่งที่อยากทำ คือ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิ

            น้องอั้ม เล่าเสริมว่า ตั้งแต่เริ่มต้น อาจารย์เขามีโครงการมาคุยกับพวกเรา และเขาก็ให้ข้อมูลพื้นฐานมา ซึ่งทุกคนก็สนใจเหมือนกันหมด เพราะมันเป็นเรื่องของการเป็นกระบอกเสียงให้สังคม พอมาทำงานจริง ก็แบ่งกลุ่มตามความชอบของแต่ละคน

เตรียมตัวพบกับเรื่องดี ๆ พ.ย. นี้

            น้องอั้มและน้องเก้ายังบอกอีกว่า ตอนนี้เราได้ Contact ของคนที่เราต้องการจะไปเก็บข้อมูลจากเขาได้มาครบแล้ว ส่วน Platform ที่จะใช้เป็นช่องทางการสื่อสารนั้น กำลังดำเนินการ คืบหน้าไปได้ประมาณ 50% แล้ว เหลืออีก 50% พร้อมจะเอา Content ใหญ่ลง คาดว่าประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนจะเสร็จ 100%

อะไรที่เกิดขึ้นแล้วดีทั้งนั้น

            ทุกการทำงานย่อมมีอุปสรรค ซึ่งทุกคนก็พบเจอเช่นกัน น้องอั้ม บอกว่า เดิมเราทำงานกับอีกที่หนึ่ง แต่เหมือนเขามองเราเป็นเด็ก คงช่วยอะไรเขาไม่ได้มาก พวกเราพยายามติดต่อเขาไป แต่สิ่งที่ได้รับกลับมา คือมองว่าเราคงจะทำอะไรไม่ได้เยอะ ก็เลยเปลี่ยนการประสานงานไปยังมูลนิธิอื่นแทน

            น้องเก้า อธิบายเพิ่มถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน แต่การเปลี่ยนมูลนิธิครั้งนี้ ถือว่า เราได้เรียนรู้อีกมุมมองหนึ่ง การที่เราได้มาร่วมมือกับมูลนิธิอีกที่หนึ่ง คือ มูลนิธิคนพิการ ทำให้มีโอกาสได้เจอครูไอซ์ ที่เป็นนักแสดงในหนังโฆษณา เรื่องเกี่ยวกับ ครูที่มองไม่เห็น เราพบว่า เป็นเรื่องดีที่เราพลาดจากตรงนั้น แล้วมาเจอตรงนี้ ถือว่า เป็นอะไรที่น่าชื่นใจ

            น้องกัส-ณัฐกฤต พรพิสุทธิ์ บอกกับอีกว่า ต้องแก้ใหม่พอเราถูก Reject จากตรงนั้นมันทำให้เราต้องพยายามขวนขวายหาที่ใหม่ให้เรา แล้วไปเจอหลายที่เรารู้สึกว่าเราทำแล้วโอเคมากเลย หลังจากเราได้เจอมูลนิธิใหม่ที่พร้อมสนับสนุนเรา ซึ่งมีหลายมูลนิธิอยู่เราก็เริ่มปรึกษาอาจารย์ว่าเราควรจะทำยังไง อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับมูลนิธิใดมูลนิธิหนึ่งเราสามารถทำหลายมูลนิธิได้ พวกเราในทีมจะจัดการอย่างไร แต่ว่าขอให้เราทำเพื่อพวกเขาอย่างจริงใจก็พอ อาจารย์เปิดโอกาสให้เราแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

            อุปสรรคในครั้งนี้ถือเป็นถือเป็นฟ้าหลังฝน ได้พบกับอะไรใหม่ สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะได้ร่วมงานกับมูลนิธิไหน ถ้ามันสร้างประโยชน์กับสังคมได้ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว

น้องอั้ม-โชติกา เหลืองกังวานกิจ

น้องเก้า-ฐานันดร สินธุไชย

น้องกัส-ณัฐกฤต พรพิสุทธิ์

น้องชารีฟ ยังเจริญ

น้องออดี้-วรุตม์ เสริมเบญจพร

Circular Living วิถีของคนรักษ์โลก

            จากทีมแรก เรามาต่อกันที่ทีมที่สอง สมาชิกในทีมคือ น้องเพลง น้องแทน น้องเจน และพี่ดิวพวกเขาทำงานในประเด็นใกล้ตัวเรามาก นั่นคือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม

            โปรเจกต์นี้ มันคืออะไรกันนะ บางทีทุกคนยังไม่เข้าใจ ไปฟังน้องเล่ากันได้เลย น้องเจน-เจนนิเฟอร์ มิเชล อัลคาเฟล บอกว่า เนื่องจากกลุ่มของพวกเรา คือ กลุ่มนักศึกษาต้นแบบในมหาวิทยาลัยที่ช่วยกันในเรื่องการลดขยะอยู่แล้ว พอมาเจอโครงการนี้ เขามีภาคีที่กำลังรณรงค์เรื่องขยะ ลดขยะ นำขยะมาสร้างสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นได้ด้วย พวกเราจึงสนุกกับการได้มีโอกาสทำงานนี้

            อีกทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมยังเป็น ประเด็นนี้น่าสนใจที่สุด และสามารถนำมาร่วมกับโครงการของมหาวิทยาลัยที่พวกเราทำอยู่ได้ จึงเลือกประเด็นนี้ และช่วยกันโปรโมทว่า ตอนนี้ ขยะเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา และกำลังเป็นปัญหาใหญ่มาก Circular Living เป็นแนวคิดที่เราเอามาใช้ทำโปรเจกต์ โดยเน้นการหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะ ทำให้ขยะกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

อยากเห็นโลกสวยงามเหมือนก่อน

            น้องแทน-วิฆเนศ พามะณี บอกกับว่า ที่มาร่วมทำงานกับโครงการนี้ คือ เนื่องจาก อ.ดิรก ซึ่งเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ ชวนเข้ามาทำ เราก็เห็นว่า เป็นโครงการที่ดี สามารถต่อยอดได้ ทำให้โลกเราโอเคขึ้น ก็เลยชวนเพื่อนคนอื่น เข้ามาทำด้วยกัน การมีเพื่อน มาร่วมทำงานด้วยทำให้ พร้อมจะลุยงานในทุกรูปแบบ

ความรับผิดชอบในหน้าที่

            น้องทุกคนช่วยกันเสริมว่า ในโปรเจกต์นี้นะคะ ส่วนมากเราจะเน้นทำงานร่วมกันมากกว่า แบ่งงานกัน เช่น การหาข้อมูล ถ่ายภาพ งานโปรดักชัน ก็อาจจะมีแยกไปเฉพาะ อย่างงานโปรดักชัน ก็จะมี “หนึ่ง” กับ “โจนัท” ที่ไม่ได้มาร่วมสัมภาษณ์ในวันนี้

อุปสรรคในการทำงาน

            เมื่อถามถึงเรื่องปัญหาในการทำงาน ประเด็นทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “มี” น้องเพลง บอกว่า คือเวลาว่างของคนในทีมไม่ค่อยตรงกัน และมีปัญหาในการคิดเนื้อหากันนิด ๆ หน่อย ๆ ตอนนี้ก็อยู่ในช่วงการเก็บข้อมูล และก็จะเริ่มทำงานกันบ้างแล้ว

เดินหน้าต่อ…ไม่ท้อถอย

            การทำงานในโปรเจกต์สิ่งแวดล้อมนี้ ทุกคนมีเป้าหมายในการทำงาน เพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อให้คนเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการขยะมากอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญคือการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิด เพื่อให้คนในสังคมตระหนักรู้เรื่องเหล่านี้มากขึ้น

            น้องในทีมร่วมกันอธิบายให้เราฟังต่อว่า ตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาตัวโปรเจกต์ และได้เข้าปรึกษางานกับอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ เราให้ความสำคัญกับการผลิต Content มาก โดยเฉพาะไอเดียที่เราได้ประชุมกันหลายครั้ง จนสรุปในท้ายที่สุดต้องสรุปออกมาเป็นเมสเซสหลักที่เราจะใช้สื่อสาร

            เราคิดว่าเรื่องขยะหรือการช่วยลดโลกร้อน มันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในวันเดียว เป็นสิ่งที่เราต้องทำอย่างสม่ำเสมอ แล้วเราจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในวันข้างหน้า ต้องใช้เวลา แต่เราก็พร้อมจะทำให้สำเร็จ เท่าที่เราจะทำได้ อย่างน้อยเริ่มต้นจากนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพก่อนเป็นอันดับแรก

น้องเพลง-นภัสกร เสวยราช

น้องแทน-วิฆเนศ พามะณี

น้อง-เจนนิเฟอร์ มิเชล อัลคาเฟล

พี่ดิว-ธนวัฒน์ ตาลสุข

            เราขอปรบมือชื่นชมให้กับ กลุ่มเด็กดี จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่รวมกลุ่มกันทำโครงการเพื่อสังคม ไม่ว่าจะทำในส่วนไหน แค่มีใจจะช่วยสังคมถือว่าได้ช่วยไปแล้วครึ่งหนึ่ง แม้โครงการจะยังไม่เสร็จ ขอเป็นกำลังใจ เอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จกับโปรเจกต์ที่คิดเอาไว้ทั้งสองกลุ่มเลย

Writer

ทุกการผิดพลาด จะกลายเป็นแรงผลักดันให้เรายิ่งใหญ่

Writer

ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ถึงจะยุ่งแค่ไหน แต่พร้อมเต็มที่ให้กับทุกงาน

Writer

ชีวิตก็เหมือนกล้องถ่ายรูป โฟกัสเฉพาะจุดที่สำคัญแล้วเราจะได้ภาพที่สมบูรณ์เอง

Photographer

เด็กนิเทศที่ชอบออกไปข้างนอก พบเจอสิ่งต่าง ๆ มากมาย บันทึกความทรงจำผ่านภาพถ่าย วัน ๆ อาจจะไม่ได้ทำอะไร แต่ถ้ามีงานให้ทำก็เต็มที่ไปกับมัน ถึงนิสัยจะบ้าหน่อย แต่ก็รักการถ่ายรูป

Photographer

รักและชื่นชอบในการหาความรู้ใหม่ ๆ มาพัฒนาตัวเอง มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี ชอบเผยแพร่ความรู้ให้แก่บุคคลอื่น ๆ มีคติประจำใจที่ว่า ฝันไว้ไกล แต่จะไปให้ถึง !!